กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนและโรงเรียนร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน /นางเสาวภาค กั๋งเซ่ง ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

นางเสาวภาค กั๋งเซ่ง ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ม.1,2,3,8,9 ต.บ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ5-14ปีซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝนมาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุง ต้องตัดวงจรของยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรค และเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียวดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากโรงเรียนชุมชนและองค์กรต่างๆ
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน มีจำนวนผู้ป่วย 5 ปีย้อนหลัง ดังนี้ ปี พ.ศ.2560 มีผู้ป่วย 18 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 329.54 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.2561 มีผู้ป่วย 41 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 750.64 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.2562 มีผู้ป่วย 21 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 384.47 ต่อแสนประชากรปี พ.ศ.2563 มีผู้ป่วยทั้งหมด 13 รายคิดเป็นอัตราป่วย 238.09 ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2564มีผู้ป่วย จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย33.00 ต่อแสนประชากรซึ่งจะเห็นว่าส่วนใหญ่แต่ละปีจะมีจำนวนผู้ป่วยเกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง(ค่ามัธยฐาน329.54 ต่อแสนประชากร)
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชันร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว และอาสาสมัครสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการชุมชนและโรงเรียนร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ๒๕65 ขึ้น โดยเน้นการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในกลุ่มนักเรียนทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนและโรงเรียนได้ร่วมกันรับผิดชอบในการดำเนินงานเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกและเพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย

ไม่เกิดโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนเขตรับผิดชอบ

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยและไม่พบอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก
  • จำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ลดลง
  • ประชาชนมีความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์
  • เพื่อลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเหลือไม่เกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจลูกน้ำยุงลายทุกครัวเรือน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง  โดย อสม. -ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับให้ความรู้แก่ประชาชนจำนวน 2,000 แผ่น x 50 สต. = 1,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่และ อสม.ในวันที่ออกสำรวจไขว้หมู่บ้าน จำนวน 104 คน x 4 ครั้ง x 25 บาท = 10,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ค่า Hl,Cl ในครัวเรือน ไม่เกินร้อยละ 10
  • ค่า Cl ในสถานศึกษาและในวัด = 0
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประกวดเขียนเรียงความไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประกวดเขียนเรียงความไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเงินรางวัลช่วงชั้นละ 1,000 บาท x 2 ช่วงชั้นเรียน = 2,000 บาท
  • ค่าเกียรติบัตรจำนวน 6 ใบ x 50 บาท = 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร.ร.ทุกโรง ปลอดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประกวดโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประกวดโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างทำป้ายอะคริลิก ขนาด 30*90 ซม. จำนวน 3 ป้าย x 450 บาท = 1,350 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร.ร.ทุกโรง ปลอดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1350.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมควบคุมโรค - พ่นหมอกควัน/ละอองฝอยกรณีเกิดโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมโรค - พ่นหมอกควัน/ละอองฝอยกรณีเกิดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าน้ำยาเคมีสำหรับพ่นหมอกควัน จำนวน 1 ขวด x 1,700 บาท
  • ค่าน้ำยาพ่นละอองฝอย ขนาด 1 ลิตร จำนวน 1 ขวด x 2,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ค่า Hl,Cl ในครัวเรือน ไม่เกินร้อยละ 10
  • ค่า Cl ในสถานศึกษาและในวัด = 0
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,550.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนและองค์กรต่าง ๆในชุมชน โรงเรียนทุกแห่ง มีส่วนร่วมในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
2. ประชาชนเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญในการรณรงค์กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
3. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
4. นักเรียนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดทั้งที่บ้านและโรงเรียน


>