กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน

นางเสาวภาค กั๋งเซ่ง ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

พื้นที่เขตความรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งองค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการระบาดใหญ่ ในประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 นั้น ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกยังคงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวันจากข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย ณ วันที่ 10กุมภาพันธุ์ 2565 พบผู้ป่วยยืนยันสะสม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 จำนวน322,438รายรวมทุกระลอกมีผู้ป่วยสะสม 2,545,873 ราย ผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 14,822รายเสียชีวิต 20 รายเสียชีวิตสะสมทุกระลอก จำนวน 22,364 ราย (คิดเป็น 0.88 %)สำหรับจังหวัดพัทลุง ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 พบผู้ป่วยยืนยันสะสม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 จำนวน 3,687 ราย ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 108 ราย เสียชีวิตสะสม 11 ราย (คิดเป็น 0.30%) สถานการณ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน ข้อมูล ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 พบผู้ป่วย
ยืนยันสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 จำนวน 89 ราย ไม่มีเสียชีวิต รวมทุกระลอกมีผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 189 ราย เสียชีวิตสะสมทุกระลอก 1 ราย (0.53 %) เพื่อการดำรงมาตรการเฝ้าระวังและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ขึ้น เพื่อให้ อสม.ได้มีความรู้และนำไปใช้ในการปฏิบัติงานเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า และประชาชนได้มีความตระหนักต่อการปฏิบัติตัวตามมาตรการอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ประชาชนที่มารับบริการปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด

ประชาชนผู้มารับบริการมีการสวมหน้ากากอนามัยทุกคน

100.00
2 2 เพื่อให้ อสม.มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

อสม.ทุกคนมีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดหาวัสดุทางการแพทย์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดหาวัสดุทางการแพทย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อไว้สนับสนุนผู้มารับบริการ กรณีที่ไม่มีการสวมหน้ากากอนามัยในสถานบริการ และสนับสนุน อสม.เพื่อป้องกันตนเองต่อการทำงานเชิงรุกในชุมชน - ค่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จำนวน 15 กล่อง x 100 บาท = 1,500 บาท - ค่าสเปรย์แอลกอฮอล์ ขนาด 50 มล. จำนวน 120 ขวด x 59 บาท = 7,080 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้มารับบริการมีการสวมหน้ากากอนามัยทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8580.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการจัดเก็บขยะติดเชื้อจากชุมชนอย่างถูกวิธีและปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการจัดเก็บขยะติดเชื้อจากชุมชนอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โดยมีถังขยะติดเชื้อไว้ที่ รพ.สต. เพื่อให้ประชาชนทิ้งหน้ากากอนามัยและชุด ATK ที่ใช้แล้ว
- ถังขยะติดเชื้อ ขนาด 240 ลิตร มีเท้าเหยียบ พร้อมล้อเข็น ฝาเรียบ จำนวน 1 ถัง = 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ประชาชนทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วและทิ้งชุดตรวจหาเชื้อโควิด(ATK)ลดการกระจายเชื้อในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม.เกี่ยวกับการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม.เกี่ยวกับการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรม และผู้จัดการอบรม จำนวน 104 คน x 1 มื้อ x 50 บาท = 5,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้ารับการอบรม และผู้จัดการอบรม จำนวน 104 คน x 2 มื้อ x 25 บาท = 5,200 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชม.x600บาท = 3,600 บาท
  • ค่าป้ายโครงการขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ป้าย = 450 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.ทุกคนมีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,430.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. อสม.และประชาชนให้ความสำคัญต่อการป้องกันตนเองและมีการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันอย่างเคร่งครัด
๒. จำนวนการติดเชื้อของคนในชุมชนลดลงและไม่เกิดคลัสเตอร์ในชุมชน
๓. อสม.สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แก่ประชาชนได้ และมีการปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องแก่ประชาชน


>