กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19)ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกาะสะบ้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกาะสะบ้า

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกาะสะบ้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๓๗ ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒6๒ ง ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๔) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕4๘ และมาตรา 1๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕34 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคำแนะนำของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โครส - 19) (ศบค.) ข้อ 6 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแล้วแต่กรณี กำกับดูแลและติดตามการดำเนินการของสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมในพื้นที่สถานการณ์ที่ได้ปรับมาตรการตามข้อกำหนดนี้ เพื่อให้เปิดดำเนินการได้ โดยให้ผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจัดเตรียมสถานที่ให้เป็นไปตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID-Free Setting) ตามประเภทของกิจการ กิจกรรมตามระดับความเสี่ยงที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด จัดระบบหมุนเวียนระบายอากาศ กำกับดูแลความพร้อมของบุคลากรให้บริการ และปฏิบัติตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบ ระเบียบ และมาตรการป้องกันโรคต่าง ๆ ตามที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งมาตรการที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ ตามข้อ ๖ (๒) พื้นที่ควบคุมสูงสุด (จังหวัดสงขลาถูกจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด) ตามข้อ ก. กำหนดไว้ว่า “โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท ให้สามารถใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากได้ โดยพิจารณาความจำเป็นและการดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแล้วแต่กรณี กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จัดกิจกรรมและสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ” ซึ่งคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 3/๒๕๖5 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕4๘ ลงวันที่ 24 มกราคม ๒๕๖5 ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๑๓9 ตอนพิเศษ 16 ง ลงวันที่ 21 มกราคม ๒๕๖5) ได้กำหนดให้จังหวัดสงขลาเป็นพื้นที่สถานการณ์ “พื้นที่ควบคุม” จากจำนวนทั้งสิ้น 44 จังหวัด
ดังนั้น เพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาดและการเพิ่มศักยภาพในการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกาะสะบ้า ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามความในมาตรา 9แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕4๘ และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0816.4/ ว 5902 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2564 รวมถึงการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564นั้น
ในการนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกาะสะบ้ามีนโยบายให้เปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอด Covid หรือ Covid fee setting มีกิจกรรมให้ครู และบุคลากรในสังกัดได้รับการฉีดวัคซีน covid-19 ครบถ้วน มีการสุ่มตรวจเด็กนักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของเด็กเล็ก ครูและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกาะสะบ้า

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 29
กลุ่มวัยทำงาน 6
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/10/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรองATKให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรในสังคม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองATKให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรในสังคม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าเจลล้างมือ จำนวน2แกลลอน แกลลอนละ 850 บาท เป็นเงิน1700บาท -ค่าชุดตรวจโควิด - 19 ด้วยตนเอง หรือ ATK ชนิดตรวจด้วยน้ำลาย จำนวน 173 ชุด ชุดละ 85 บาทเป็นเงิน 14,705 บาท -ค่าหน้ากากอนามัยจำนวน 2 กล่อง กล่องละ 50 บาท เป็นเงิน 100บาท -ค่าชุด C P E ป้องกันเชื้อไวรัส-เชื้อโรค และสารเคมี จำนวน 8 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงิน 400 บาท -ถุงมือป้องกันเชื้อโรค จำนวน 2 กล่อง กล่องละ 350 บาท เป็นเงิน700บาท -ค่าถุงแดงขยะติดเชื้อ จำนวน 5 ชุด ชุดละ 85 บาท เป็นเงิน425บาท -หมวกตัวหนอน 1 แพคแพคละ 150 บาท เป็นเงิน150บาท -เฟชชิวด์8 ชิ้นชิ้นละ 35บาท เป็นเงิน280บาท -ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 * 2.4 / ตารางเมตรละ 150เป็นเงิน500 บาท 2. คัดกรอง ATK ให้กับนักเรียนในโรงเรียน -นักเรียนได้รับการคัดกรอง ครบ 100 % รวม 18,960 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18960.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผลและติดตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลและติดตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,960.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน ได้รับวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
2. เด็กนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน มีความปลอดภัยและมีภาวะเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)


>