กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพในชุมชน สร้างจิตสดใส ร่างกายแข็งแรง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2 ตำบลบ้านพร้าว

1. นายศุภกรณ์ ทองเจริญ
2. นางพรรทิภา เพชรคง
3. นางพรรณี พันฤทธิ์ดำ
4. นางบัวทิพย์ พงศาปาน
5. นางยุพา ช่วยสุข

พื้นที่ ม.2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากประชาชนในชุมชน ม.2 ต.บ้านพร้าว มีปัญหาด้านสุขภาพซึ่งส่งผลทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เกิดจากการไม่ค่อยได้ดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตใจ ของประชาชนในชุมชนมีปัญหาสุขภาพ เช่น การเจ็บป่วยโรคไม่ติดต่อ โรคข้อเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ตลอดจนโรคเกี่ยวกับสมองและหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญได้แก่เรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกายและด้านอารมณ์ จึงส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่าย เพื่อให้การดำเนินงานการพัฒนาด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชน ม.2 เป็นไปอย่างต่อเนื่องดังนั้นทางชมรม อสม. ม.2 จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนสร้างจิตสดใสร่างกายแข็งแรง โดยได้จัดกิจกรรมในการตรวจสุขภาพและให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเรื้อรัง ตลอดจนให้ความรู้ในการป้องกันโรคที่เกิดจากสารเคมีตกค้างในเลือด เพื่อเป็นการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับอาหารการกินและการส่งเสริมการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ โดยเน้นและแนะนำให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ในการเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเรื้อรังได้
  1. ประชาชน ม.2 มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นร้อยละ 100
  2. ประชาชนในชุมชน ม.2 มีอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รายใหม่ไม่เกินร้อยละ 10
0.00
2 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้รับความรู้ในการป้องกันโรคที่เกิดจากสารเคมีตกค้าง

กลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อไปยัง รพ.สต. บ้านตลิ่งชัน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจสุขภาพ/ตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสุขภาพ/ตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x3 ม. จำนวน 1 ป้ายๆละ 450.- = 450.-
  • ค่าตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 60 คนๆละ50.- = 3,000.-
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 25.- = 1,500.-
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนหมู่ 2 ได้รับการตรวจสุขภาพและตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด /กลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อไปยัง รพ.สต. บ้านตลิ่งชัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4950.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 300.- = 900.-
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 60 คนๆละ 25.- =1,500.-
  • ค่าวัสดุ 1,000 บาท = 1,000.-
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชน ม.2 มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,350.00 บาท

หมายเหตุ :
***สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ทุกรายการ***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 10
2. กลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อไปยัง รพ.สต. บ้านตลิ่งชัน
3. ประชาชนในชุมชน ม.2 มีสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์และสามารถดูแลตนเองได้ตามความเหมาะสม
4. ประชาชนในชุมชน ม.2 มีการแสดงศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพตนเองได้อย่างต่อเนื่อง


>