กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัยเรียน วัยใส ห่างไกลการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

สภาเด็กและเยาวชนตำบลสะเอะ

1.นายอับดุลเราะห์มาน เทษา
2.นางสาวฟาฮาดา ลัสสะมานอ
3.นายอับดุลฟัตตาห์ จะปะกิยา
4.นางนูรีซา ดีสะเอะ
5.นางมูณีเราะ ดอเลาะ

ตำบลสะเอะและสถานที่อื่นที่เหมาะสม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” กรมอนามัยได้กำหนดนิยาม หมายถึง จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของหญิงอายุ 15-19 ปี หรือ 10-14 ปี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ.2573 โดยได้กำหนดให้การ ลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วย การสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย
ซึ่งมีทั้งการคลอดก่อนและหลังการสมรส โดยส่วนหนึ่งเป็น การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องเพศศึกษา ประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง จึงอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สภาเด็กและเยาวชนตำบลสะเอะ ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการโครงการวัยเรียน วัยใส ห่างไกลการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ประจำปีงบประมาณ 2562 เพื่อเสริมสร้างความตระหนักและองค์ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชนมีความตระหนักและมีองค์ความรู้เรื่องบทบาทและคุณค่าเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของเด็กและเยาวชน

เด็กและเยาวชนมีความตระหนักและองค์ความรู้เรื่องบทบาทและคุณค่าเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

35.00 50.00
2 ร้อยละของเด็กและเยาวชนมีความภาคภูมิใจในตนเอง และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

 

38.00 60.00
3 จำนวนกลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กและเยาวชน และการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนในตำบล

 

2.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/05/2022

กำหนดเสร็จ 02/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์/การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์/การตั้งครรภ์ไม่พร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อบรมให้ความรู้เรื่องอิสลามกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

-สถานการณ์วัยรุ่นในพื้นที่

-พูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาที่พบเจอในพื้นที่

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน4,800บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน5,600บาท

-ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน3,600บาท

-ค่าเอกสารการอบรมชุดละ 40 บาท จำนวน 80 ชุด เป็นเงิน3,200บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์ 1,300 บาท -ค่าจัดจ้างทำป้ายไวนิล จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน1,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 พฤษภาคม 2565 ถึง 21 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
ได้แลกเปลี่ยนความคิดและปัญที่พบเจอ ได้เรียนรู้สถานการณ์ในปัจจุบันเกี่ยวกับอิสลามการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างสรรค์สื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างสรรค์สื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ให้ความรู้รูปแบบของสื่อสร้างสรรค์

-สร้างสรรค์สื่อป้องกันการตั้งครรภ์/เปิดเพจสื่อสร้างสรรค์เป็นช่องทางการสื่อสาร


-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน4,800บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน5,600บาท

-ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน3,600บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์2,100บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2565 ถึง 28 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้เรียนรู้เท่าทันสื่อและการเลือกเสพสื่ออย่างสร้างสรรค์ 2.เปิดช่องทางการสื่อสารสื่อออนไลน์ในการสื่อสารองค์ความรู้และการเฝ้าระวัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ห่างไกลการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ห่างไกลการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์การสื่อสารเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยแกนนำและเครือข่าย
1.การประชาสัมพันธ์ระดับครัวเรือน จำนวน 3 ครั้ง 2.การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานโรงเรียน/ตาดีกาจำนวน 3 ครั้ง 3.การประชาสัมพันธ์ตามมัสยิด (คุตบะห์สัญจร)จำนวน 3 ครั้ง ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ 60 บาท x 10 คน x 9 ครั้ง5,400.- บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 35 x 10 คน x 9 ครั้ง เป็นเงิน 3,150 ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ 1,950.-
**ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มิถุนายน 2565 ถึง 17 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ให้ผู้รับสารเห็นคุณค่าหรือประโยชน์และได้รู้จักเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมถอดบทเรียนและสร้างกลไก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถอดบทเรียนและสร้างกลไก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กิจกรรมตอบแบบประเมิน -สรุปและถอดบทเรียนการทำกิจกรรม -ร่วมกันวางแผนแนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน4,800บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน2,800บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ 1,300

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กรกฎาคม 2565 ถึง 2 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เข้าใจของการการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร แล้วร่วมกันป้องกันให้ห่างไกลกับการตั้งครรภ์ก่อนวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนมีความตระหนักและองค์ความรู้เรื่องบทบาทและคุณค่าเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
2.เด็กและเยาวชนมีความภาคภูมิใจในตนเอง และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
3.เด็กและเยาวชนมีการพัฒนาเครือข่ายการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และการแก้ไขปัญหาวัยรุ่นในตำบล


>