กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนบ้านควนรับรู้ ตระหนัก ต่อการรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบตามเกณฑ์ ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน

1.นางปทุมมาศ โลหะจินดา ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.ต.บ้านควน เบอร์ติดต่อ 089-4677379
2.นางสุภา นวลดุก ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์ติดต่อ 089-4088530
3.นางสาวสุพิชชา บินสอาด ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์ติดต่อ 086-4884177
4.นางสาวนุสรัตน์ นุ่งอาหลี ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ เบอร์ติดต่อ 088-7955154
5.นางสาวโสภิตรา นารีเปน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์ติดต่อ 086-9553967

หมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมการฉีดวัคซีนโควิด-19ของกลุ่มประชากรในเขตรับผิดชอบ

 

68.67
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

70.00

หลักการและเหตุผล
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่แพร่ระบาดเป็นวงกว้างและรวดเร็ว ทำให้มีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นและมีรายงานผู้เสียชีวิตรายวันเพิ่มขึ้น สถานการณ์การ COVID-19 ในประเทศ ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม ถึง 3 มีนาคม 2565 ผู้ป่วยรายใหม่ในวันนี้จำนวน 23,618 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 2,958,162 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 734,727 ราย หายป่วย 18,939 ราย เสียชีวิตสะสม 1,372 ราย จำนวนฉีดวัคซีนสะสม 124,187,243 โดส เข็มที่1 คิดเป็นร้อยละ 77.2% เข็มที่2 คิดเป็นร้อยละ 71.6 % เข็มที่3 คิดเป็นร้อยละ 29.7 % ของประชากร
สถานการณ์การ COVID-19 ในจังหวัดสตูล ณ วันที่ เมษายน 2563 ถึง 1 มีนาคม 2565 ผู้ป่วยยืนยันสะสม 10,960 ราย หายป่วยสะสม 9,811 ราย เสียชีวิตสะสม 138 ราย อัตราตายต่อแสนประชากร 42.58 จำนวนฉีดวัคซีนสะสม 124,187,243 โดส เข็มที่1 คิดเป็นร้อยละ 77.2% เข็มที่2 คิดเป็นร้อยละ 71.6 % เข็มที่3 คิดเป็นร้อยละ 29.7 % ของประชากร
สถานการณ์การ COVID-19 ในตำบลบ้านควน ณ วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึง 2 มีนาคม 2565 ผู้ป่วยยืนยันสะสม 627 ราย เสียชีวิตสะสม 16 ราย อัตราตายต่อแสนประชากร 143.83 จำนวนฉีดวัคซีนเข็มที่1 รพ.สต.ต.บ้านควน1 เป้าหมายจำนวน 4,564 คน ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวน 2,847 คนคิดเป็นร้อยละ 68.67% ดังนี้ กลุ่มประชากร608 เข็มที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 62% , เข็มที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 62.38% ยังไม่รับครบตามเกณฑ์ 70 % จำนวน 61 คน และฉีดครบเข็มที่3 จำนวน 461 คน นั้น
ในปัจจุบันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะใช้มาตรการ ป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรค กักตัวผู้มีความเสี่ยงสูง รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้นผิวสัมผัสร่วม เป็นต้น แต่สิ่งที่เป็นความหวังของรัฐบาลและประชาชนในขณะนี้ คือ วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกสั้น ๆ ว่าวัคซีนโควิด-19 นั้น ประเทศไทยได้มีการเตรียม ความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัคซีน เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีนที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพได้มากที่สุดเท่าที่ศักยภาพของประเทศจะดำเนินการได้ ประชาชนตำบลบ้านควนยังขาดความตระหนักในการป้องกันตนเอง ไม่ไปรับบริการฉีดวัคซีนยังต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด และอัตราการตายสูงมาก
ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำโครงการคนบ้านควนรับรู้ ตระหนัก ต่อการรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบตามเกณฑ์ ปี 2565 ขึ้นเพื่อกระตุ้น สร้างความตระหนัก การรับรู้ ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 โดยการรับบริการฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมายร้อยละ 70 ลดความรุนแรงของโรค และลดอัตราการตายลงจนไม่เป็นปัญหาสุขภาพซึ่งส่งผลให้ประชาชนของตำบลบ้านควนมีคุณภาพชีวิตทีดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละ 90 ของคนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

70.00 90.00
2 เพื่อเพิ่มร้อยละความครอบคลุมการฉีดวัคซีนโควิด-19ของกลุ่มประชากรในเขตรับผิดชอบ

ร้อยละ 70 ของความครอบคลุมการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของกลุ่มประชากร608 ในเขตรับผิดชอบ

68.67 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,213
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจง การรณรงค์ กระตุ้นการรับรู้ ตระหนักต่อการรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
การประชุมชี้แจง การรณรงค์ กระตุ้นการรับรู้ ตระหนักต่อการรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ประชุมชี้แจง อสม. เรื่องโรคโควิด-19 ,วัคซีนโควิด-19 และแบบฟอร์มการลงทะเบียนประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 608 คือ ผู้สูงอายุ ,7 กลุ่มโรคเรื้อรัง,หญิงตั้งครรภ์,คนอ้วนนำ้หนัก 90 กก.ขึ้นไปในหมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน ในช่วงบ่าย เพื่อเพื่มความรู้ ความเข้าใจของ อสม.ในการนำไปอธืบายกับประชากรหลุ่มเป้าหมาย 608 ที่ยังไม่รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 และที่รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 รายละเอียดงบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่จำนวน 2 คนร่วมกับ อสม. จำนวน 91 คนในการประชุมชี้แจงเรื่องโรคโควิด-19 จำนวน 93 คน x 25.- บาท x 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,325.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของ อสม. เข้าประชุมชี้แจง เรื่องโรคโควิด-19 ,วัคซีนโควิด-19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2325.00

กิจกรรมที่ 2 การออกรณรงค์ เคาะประตูบ้านประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่อการรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
การออกรณรงค์ เคาะประตูบ้านประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่อการรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1การออกรณรงค์ เคาะประตูบ้านประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่อการรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 อธิบายผลดี ผลข้างเคียง เรื่องโรคโควิด-19 โดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.+จนท.อบต.บ้านควน ร่วมกับ อสม. เคาะประตูบ้านประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 608 คือ ผู้สูงอายุ ,7 กลุ่มโรคเรื้อรัง,หญิงตั้งครรภ์,คนอ้วนนำ้หนัก 90 กก.ขึ้นไปในหมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน ในช่วงบ่ายรับลงทะเบียน กำหนดการมารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในหมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน หมู่ละ 1ครั้ง รวมเป็น 5 ครั้ง
รายละเอียดงบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่รพ.สต.+จนท.อบต.บ้านควนจำนวน 10 คน ร่วมกับ อสม. จำนวน 91 คน ประชุมสรุปผลการออกรณรงค์เคาะประตูบ้านการรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวน 101x25x1 มื้อ x 5 วัน รวมเป็นเงิน 12,625.- บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่รพ.สต.+จนท.อบต.บ้านควนจำนวน 5 คน ร่วมกับ อสม. จำนวน 91 คน ประชุมสรุปผลการเปิดรับลงทะเบียนและกำหนดการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในหมู่บ้านจำนวน 96 คน x 25 บาท x 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,400.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 70 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย608 รับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15025.00

กิจกรรมที่ 3 การติดตาม สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การติดตาม สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1ประชุมติดตาม สรุปผลการดำเนินงานโครงการ โดยเจ้าหน้าที่รพ.สต. จำนวน 2 คน ร่วมกับ อสม. จำนวน 10 คน เพื่อหาปัญหา อุปสรรค จุดเด่น จุดด้อยที่ไม่สามารถดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
รายละเอียดงบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่รพ.สต. จำนวน 2 คน ร่วมกับ อสม. จำนวน 10 คน ประชุมติดตาม สรุปผลการดำเนินงานโครงการ จำนวน 12 คน x 25 บาท x 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 600.- บาท
-ค่าอาหารกลางวันเจ้าหน้าที่รพ.สต. จำนวน 2 คน ร่วมกับ อสม. จำนวน 10 คน ประชุมติดตาม สรุปผลการดำเนินงานโครงการ จำนวน 12 คน x 75 บาท x 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 900.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 เจ้าหน้าที่รพ.สต. ร่วมกับ อสม. เข้าประชุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,850.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 90 ของคนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง
2. ร้อยละ 70 ของความครอบคลุมการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของกลุ่มประชากรในเขตรับผิดชอบ


>