กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพะตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกักกันตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง (Home Quarantine) ครั้งที่ ๒

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพะตง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เทศบาลตำบลพะตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานแรงงานนอกระบบ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนในชุมชนที่สามารถเข้าถึงอาหารในช่วงโควิด-19

 

100.00

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยซึ่งองค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการระบาดใหญ่ในประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้ เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ปัจจุบันประเทศไทยยังคงมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นระยะ และล่าสุดมีการระบาดในระลอกใหม่ทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) อำเภอหาดใหญ่ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕พบผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน๒,๔๒๕ราย กำลังรักษาในโรงพยาบาลจำนวน ๑,๑๒๖ ราย กลับบ้านสะสมจำนวน ๑,๑๒๖ ราย เสียชีวิตสะสมจำนวน๓ รายข้อมูล ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ตำบลพะตงพบผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน๘๔๘ ราย ข้อมูล ณ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔๕ และมีแนวโน้มติดเชื้อเพิ่มขึ้น
ในการนี้เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙(COVID -19)ในพื้นที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖แก้ไขถึงฉบับที่ ๑๓ พ.ศ.๒๕๕๒มาตรา ๕๐ เทศบาลตำบลมีหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อและอาศัยหนังสือจังหวัดสงขลาที่สข ๐๐๒๓.๓/ว๔๘๑๑ลงวันที่๒๒กรกฎาคม๒๕๖๔ เรื่องซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙(COVID-๑๙)เทศบาลตำบลพะตงได้มีการดำเนินการกักกันตัวผู้ต้องสงสัยโรคติดเชื้อโรคโควิด-๑๙ ตามอำนาจหน้าที่โดยเบิกจ่ายงบประมาณสำหรับการกักกันตัวผู้ต้องสงสัยโรคติดเชื้อโรคโควิด-๑๙ จากเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี๒๕๖๕แผนงานงบกลาง ประเภทเงินสำรองจ่าย เพื่อป้องกันและยับยั้งก่อนเกิดสาธารณภัยหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยและโครงการกักกันตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง(Home Quarantine) จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาทแต่เนื่องพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ผู้มีความเสี่ยงสูงที่ต้องกักตัวเพิ่มขึ้นด้วย แต่งบประมาณที่ขอสนับสนุนมีไม่เพียงพอเทศบาลตำบลพะตงจึงขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลพะตงเพิ่มเติมเพื่อจัดทำโครงการโครงการกักกันตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง(Home Quarantine) ครั้งที่๒จำนวน๑๐๐,๐๐๐บาทโดยอาศัยประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่๓) พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ3ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ10/1แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องหรือพื้นที่พ.ศ.2561ข้อ10/1เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อและคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ10ได้ทันต่อสถานการณ์ให้ประธานกรรมการตามข้อ12มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อได้ตามความจำเป็นไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อโครงการโดยให้ถือว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วยแล้วรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-๑๙

ร้อยละจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙

50.00 100.00

เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่บ้าน (HQ)

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7,800
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ที่บ้าน (HQ)

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ที่บ้าน (HQ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ค่าอาหาร จำนวน ๑๑๐ คน จำนวน  ๕ วัน
วันละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน ๘๒,๕๐๐ บาท ๒. ค่าหน้ากากอนามัย  จำนวน ๖๕ กล่อง
กล่องละ ๑๒๐ บาท เป็นเงิน ๗,๘๐๐ บาท ๓. สเปรย์แอลกอฮอล์ ขนาด ๓๐๐ ซีซี จำนวน ๖๕ ขวด ขวดละ ๑๒๐ บาท เป็นเงิน ๗,๘๐๐ บาท ๕. ถุงดำจำนวน ๔๕ แพ็ค เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท 6. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเงิน ๑๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้กักตัวได้รับอาหารระหว่างกักตัว100%

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19
2. กลุ่มเสี่ยงได้รับการกักกันตัวและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ร้อยละ๑๐๐


>