กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควนปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน

1.นางปทุมมาศ โลหะจินดา ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.ต.บ้านควน เบอร์ติดต่อ 089-4677379
2.นางสุภา นวลดุก ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์ติดต่อ 089-4088530
3.นางสาวสุพิชชา บินสอาด ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์ติดต่อ 086-4884177
4.นางสาวโสภิตรา นารีเปน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์ติดต่อ 086-9553967
5.นางสาวนุสรัตน์ นุ่งอาหลี ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ เบอร์ติดต่อ 088-7955154

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

57.14
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

71.43
3 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง

 

18.06
4 เด็กอายุ6-12เดือนตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง

 

26.25

การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยในระยะยาวเพื่อก้าวไปสู่ความมั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายรวมถึงการมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีความพร้อมทางด้านจิตใจ และสติปัญญา ซึ่ง 1,000 วันแรกของชีวิต เป็นช่วงที่ โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายเส้นใย ประสาทนับล้านโครงข่ายเป็นผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ทำให้เด็กมีความสามารถในการ เรียนรู้จดจำ นอกจากนี้การเจริญเติบโตด้านร่างกายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน อีกทั้งยังเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่างๆ ส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานโรคระบบเผาพลาญ ระบบทางเดินอาหารของร่างกายให้สมบูรณ์
1,000 วันแรกของชีวิตคือ ช่วงเวลาตั้งแต่การปฏิสนธิ และตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด (270 วัน) รวมกับช่วงเวลาตั้งแต่แรกคลอดจนถึงอายุ 2 ปีบริบูรณ์ (730 วัน) กระบวนการพัฒนาการทางร่างกาย ทางสมอง อารมณ์และสังคม ส่งผลต่อทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ภาวะเตี้ย ภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการไม่สมวัย เนื่องจากเป็นช่วงที่มีกระบวนการสร้างเซลล์สมอง โดยการเพิ่มเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด การได้รับโภชนาการที่เหมาะสมร่วมกับกระบวนการ กิน นอน กอด เล่น เล่า จะทำให้ทารกเจริญเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงในที่สุด ผลการดำเนินงานคุณภาพด้านแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควนจาก HDC ในปี พ.ศ. 2564 พบประเด็นเกี่ยวข้องที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก ได้แก่ 1) การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 71.43 (เกณฑ์ร้อยละ 75)2) การฝากครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 57.14 (เกณฑ์ร้อยละ 75) 3) หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 18.06 (เกณฑ์ร้อยละ 10) 4) เด็กอายุ 6- 12 เดือนตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 26.25 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน จัดทำโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2565 และดำเนินการพัฒนาระบบบริการอนามัยแม่และเด็กในคลินิกบริการและเครือข่ายให้มีมาตรฐานและต่อเนื่อง เพื่อการดูแลสตรีตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด - 2 ปี ให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ มีสติปัญญาและศักยภาพที่ดีต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

71.43 75.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

57.14 75.00
3 เพื่อลดจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางลดลง

18.06 15.00
4 เพื่อลดจำนวนเด็ก6-12 เดือนที่มีภาวะโลหิตจาง

ร้อยละของเด็ก6-12 เดือนที่มีภาวะโลหิตจางลดลง

26.25 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องต่างๆ ดังนี้
1.1 โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์
1.2 การออกกำลังกาย การนอนหลับและการผ่อนคลายความเครียด
1.3 วิธีการกระตุ้นพัฒนาการลูกในครรภ์
1.4 การรับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและการมาติดตามนัด
1.5 อาการผิดปกติที่ต้องไปโรงพยาบาล
งบประมาณกิจกรรมที่ 1. ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์เรื่องการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ จำนวน 10 คน
1.ค่าอาหารกลางวันหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 10 คน x 1 มื้อ x 75.- บาทเป็นเงิน 750.-บาท
2.ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่มหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 10 คน x 2 มื้อ x 25.- บาทเป็นเงิน 500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมกิจกรรมการความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างถูกต้อง ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กอายุ 0-2 ปี

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กอายุ 0-2 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กอายุ 0-2 ปี
2.1 เรื่องอาหารตามวัยในคลินิกสุขภาพเด็กดี โดยใช้โมเดลอาหารสำหรับเด็กแรกเกิด-1ปี และเด็กอายุ 1-2 ปี
2.2 ความสำคัญของการเล่านิทาน
2.3 การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน โดยการสาธิตการแปรงฟัน
2.4 การเคลือบฟลูออไรด์วานิช
งบประมาณกิจกรรมที่ 2.ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กอายุ 0-2 ปี
2.1. ค่าจัดซื้อโมเดลอาหารสำหรับเด็กทารก เป็นเงิน 16,000.- บาท
2.2 ค่าจัดซื้อหนังสือนิทานสำหรับเด็ก 30 คน x 1 เล่ม x 95.- บาทเป็นเงิน 2,850.- บาท
รวมเป็นเงิน 18,850.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมการให้ความรู้ในการส่งเริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก อายุ 0-2 ปี
  2. เด็กอายุ 0-2 ปีได้รับการเคลือบฟลูออไรด์วานิช
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,100.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ75ขึ้นไป
2. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ร้อยละ75ขึ้นไป
3. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางลดลง น้อยกว่าร้อยละ15
4. เด็ก6-12 เดือนที่มีภาวะโลหิตจางลดลงน้อยกว่าร้อยละ20


>