กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา โรงเรียนบ้านโหล๊ะหาร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

โรงเรียนบ้านโหล๊ะหาร

หมูที่ 7 บ้านโหล๊ะหาร หมู่ที่ 8 บ้านโหล๊ะหาร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง 29 จังหวัด เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ ซึ่งจังหวัดพัทลุงอยู่ในพื้นที่ที่ยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน

นักเรียนและครูได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 100

350.00 350.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 315
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรอง ATK ให้กับครูและนักเรียน ในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรอง ATK ให้กับครูและนักเรียน ในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง หรือ ATKจำนวน 1,000 ชุดๆละ 70 บาทเป็นเงิน 70,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
70000.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

• ค่าถ่ายเอกสารและค่าวัสดุในโครงการ เช่น เอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการระบาด/ ป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด19 / แนวทางการปฏิบัติตัว หรือช่องทางการติดต่อเจ้าหน้าที่ เชิญลงทะเบียนรับวัคซีน /New Normal / DMHTTแผ่นพับ โพสเตอร์/โพสการ์ด เอกสารอื่น จำนวน 335 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 3,350 บาท • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.20*2 เมตร เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3950.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

• ค่าเจลล้างมือ ขนาดบรรจุ 1 ลิตร จำนวน30ขวดๆ ละ 180 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท • ค่าหน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก จำนวน 20 กล่องๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 800 บาท • ค่าหน้ากากอนามัยสำหรับผู้ใหญ่ จำนวน10 กล่องๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 400 บาท • ค่าชุด PPE ป้องกันเชื้อไวรัส - เชื้อโรค และสารเคมี จำนวน 20 ชุดๆละ 160 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท • ค่าน้ำยาฆ่าเชื้อ ขนาดบรรจุ 5 ลิตร จำนวน 1 แกลอนๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท • ถุงมือยางป้องกันเชื้อโรค เบอร์ Sจำนวน12 กล่องๆละ 180 บาท เป็นเงิน 2,160 บาท • ค่าเครื่องพ่นละอองฝอยฆ่าเชื้อโรค จำนวน 1 เครื่องๆละ 2,000 บาท เป็นเงิน2,000 บาท • ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 2,500 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท • ค่าถังขยะ 20 ใบๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท • ถุงแดงใส่ขยะติดเชื้อ 20 กิโลกรัมๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26360.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,310.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนและครูได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด
2. ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน


>