กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคในโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง

นางสาวนาฏนธีผิวเหลือง
นางสากีน๊ะพันหวัง
นางจิราภรณ์บิลยะแม
นางอามีนะฮ์หนูยาหมาด
นางสาวโซโรดาหลังแดง

โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กในโรงเรียนทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่จะอยู่อาศัยในโรงเรียนน่าอยู่ได้อย่างเท่าเทียมกันและอยู่ร่วมกันกับ ครู พนักงาน และเพื่อน ๆ อย่างสงบสุข มีความสะดวกสบาย สะอาด ถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ และความคิดสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม โรงเรียนที่มีการจัดการ ควบคุมส่งเสริม สนับสนุนปัจจัยเอื้อ และขจัดหรือลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความน่าอยู่ของโรงเรียน โดยมุ่งหวังให้เด็กได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเสริมสร้างสุขภาพ และครูได้รับการส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขกาย สบายใจ ครู ผู้ปกครอง และชุมชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาโรงเรียน เด็กควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรม สุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพที่ดีและ ทำได้ถูกต้องเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ผู้ปกครองและครูได้รับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถ ดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้น ผู้ปกครอง เข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมโดยสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ระหว่างบ้าน และโรงเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง เห็นความสำคัญ การส่งเสริมการดำเนินการเตรียมความพร้อมตามมาตรการการป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียน เนื่องด้วยปัจจุบัน โรคติดต่อสำคัญที่กระทรวงสาธารณสุขต้องป้องกันและควบคุมในโรงเรียน ได้แก่โรคมือ เท้า ปาก โรคโควิด-19 โรคไข้เลือดออก เป็นต้น ซึ่งโรคติดต่อเหล่านี้ สามารถติดต่อกันได้ทั้ง การหายใจเอาละอองอากาศที่มีเชื้อปนอยู่เข้าไป การไอหรือจามรดกัน และการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน รวมทั้งการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเข้าไป หากเด็กที่อยู่ใน โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อเหล่านี้ก็สามารถแพร่กระจายสู่กัน และแพร่กระจายสู่ชุมชนได้ง่าย ซึ่งจากการดำเนินงานโรงเรียนคุณภาพปลอดโรค ช่วยให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพกายใจที่ดีลดอุบัติการณ์การเกิดโรค ดังนั้นโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสทิงพระ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสทิงพระ ประจำปีงบประมาณ 2562 ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง เพื่อให้เด็ก และครูที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัยและการรู้จักการดูแลสุขภาพร่างกายได้ด้วยตนเอง รวมถึงเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรง และปลอดจากโรคต่างๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเด็กมีความรู้เรื่องโรคติดต่อและการป้องกันโรค

 

0.00
2 2. เพื่อเด็กมีทักษะในการจัดสิ่งแวดล้อมและคัดกรองอาการป่วยโรคมือ เท้า ปาก ที่ถูกต้อง

 

0.00
3 3. เพื่อป้องกันโรคติดต่อด้วยการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร

 

0.00

นักเรียนและครูได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 124
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ รณรงค์ ป้องกันโรคโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้ รณรงค์ ป้องกันโรคโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้เรื่องโรคโควิด-19 จำนวน 2 คนๆละ1ชั่วโมงๆละ500บาทเป็นเงิน 1,000 บาท

  2. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2*3.5 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน1,190บาท

  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรม จำนวน124 คนๆละ 1 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 3,720บาท

  4. ค่าจัดซื้อเจลแอลกอฮอล์ ขนาด 400 มิลลิลิตรจำนวน 4 ขวดๆละ390 บาท เป็นเงิน 1,560บาท

  5. ค่าจัดซื้อหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จำนวน 25 กล่องๆละ 90 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท

  6. ค่าจัดซื้อชุดตรวจโควิด - 19 (ATK)จำนวน 124 ชุดๆละ 60 บาท เป็นเงิน 7,440 บาท

  7. ค่าจัดซื้อน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ขนาด 4,000 มิลลิลิตร จำนวน2แกลอนๆละ 1,800 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

  8. ค่าจัดซื้อปากกาเคมี จำนวน 2 ด้ามๆละ 10 บาท เป็นเงิน 20 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา สามารถอยูร่วมกันโดยปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20780.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก จำนวน 2 คนๆละ1ชั่วโมงๆละ500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

  2. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2*3.5 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน1,190บาท

  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรม จำนวน 124 คนๆละ1 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 3,720 บาท

  4. ค่าจัดซื้อยาทากันยุง(กย 15)จำนวน 124 ห่อๆละ 15 บาท เป็นเงิน 1,860 บาท

  5. ค่าจัดซื้อทรายอะเบท จำนวน124ห่อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 2,480 บาท

  6. ค่าอุปกรณ์ในการทำกิจกกรรม (กระดาษบรูฟ,ปากกาเคมี,อุปกรณ์อื่นฯ) เป็นเงิน3,180 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนสามารถป้องกันการเกิดไข้เลือกออกได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13430.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม รณรงค์ป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม รณรงค์ป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2*3.5 เมตรจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน1,190บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน124 คนๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 7,440 บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน2คนๆละ2 ชั่วโมงๆละ 500 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท
  4. ค่าจัดซื้อสบู่เหลวล้างมือขนาด 300 มล. จำนวน124ขวดๆละ 90 บาทเป็นเงิน11,160 บาท
  5. ค่าอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม (กะละมังไฟฉายผลิตภัณฑ์ซักผ้าขาวไฮเตอร์) เป็นเงิน 2,000 บ
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราการเจ็บป่วยจากโรคมือ เท้า ปาก ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25790.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียนและครูได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน


>