กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการติดตามภาวะโภชนาการหนูน้อย กินดีสมองดี สูงดี สมส่วน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

นางปาริชาติ คุรุปัญญา ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชุมชนตลาดสด

เทศบาลตำบลแม่ขรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสภาพปัจจุบันการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการประกอบอาชีพ ซึ่งบางครอบครัวไม่ได้อยู่กับพ่อและแม่ ในยุคปัจจุบันที่ก้าวทันต่อเทคโนโลยี สื่ออิเล็กทรอนิกส์ มือถือ ในการทำกิจกรรมต่างๆ
กับเด็กปฐมวัย ร้อยละ 67.30 (กรมอนามัย,2559)สถานการณ์การตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วนน้อยกว่า 60 ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด อีกทั้งยังพบว่ามีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่มากกว่าร้อยละ 5.5 ส่งผลไปยังสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กไทย ปี 2559 พบว่าเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มี IQ ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ (IQ น้อยกว่า 90 ) อยู่ถึง 31.81
(ไม่ควรเกิน ร้อยละ 25 )(สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต , 2559) จากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในเขตพื้นที่แม่ขรีไตรมาสที่ 4 ประจำปี 2564 พบว่า ในเด็กจำนวนที่สำรวจ 358 คน พบภาวะโภชนาการที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสูงดีสมส่วนกระทรวงสาธารณสุขกำหนด จำนวน 20 คน คิดเป็น ร้อยละ 5.59 ซึ่งยังเป็นค่าที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยแต่ละคนเป็นการส่งเสริม
เฝ้าระวัง แก้ปัญหาภาวะโภชนาการและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้เด็ก ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม ในศตวรรษที่ 21
เป็นช่วงเวลาที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปรวดเร็ว ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่เด็กให้มีทักษะสำหรับการดำรงชีวิตให้ทันต่อโลก และตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ 2560 – 2579) ให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพในเด็กปฐมวัย กำหนดเป็น “ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์”ด้วยการส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก เพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาเด็กให้มีภาวะโภชนาการที่ดี สูงดีสมส่วนและมีทักษะที่จำเป็น อีกทั้งแก้ไขปัญหาแนวโน้มการตรวจพบเด็กที่มีภาวะโภชนาการไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเกินหรือทุพโภชนาการให้น้อยลง รวมทั้งส่งเสริมการมีสติปัญญาที่ดีขึ้น
หากประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ตระหนักในความสำคัญการดูแลเลี้ยงดูเด็ก รวมทั้งมีทักษะในการเรียนรู้และพัฒนาเลือกสรรอาหารตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละคน เพื่อส่งเสริมให้มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม จะสามารถดูแลเด็กที่อยู่ในช่วงปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมอีกทั้งลดโอกาสการคัดกรองพบภาวะโภชนาการที่ต่ำกว่า
เกณฑ์มาตรฐานในกลุ่มเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุ ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลตะโหมด ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่จะดูแลส่งเสริมภาวะโภชนาการ เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม มีทักษะในการเล่นเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กภายใต้โครงการติดตามภาวะโภชนาการ หนูน้อย กินดี สมองดี สูงดี สมส่วนจึงได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงของค่าน้ำหนัก ส่วนสูง และความเข้มข้นของเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สูงดี สมส่วนตามเกณฑ์ภาวะโภชนาการเด็กในช่วง 0 – 5 ปี
  1. กลุ่มเป้าหมายสามารถมีการเปลี่ยนแปลงของค่าน้ำหนัก ส่วนสูง และความเข้มข้นของเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สูงดี สมส่วนตามเกณฑ์ภาวะโภชนาการเด็กในช่วง 0 – 5 ปี
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 22
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
1. ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนโครงการ 1.2 ประชุมชี้แจง สมาชิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลตะโหมด เพื่อหาแนวทางร่วมกัน 1.3 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
2. ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 จัดกิจกรรมการวัดประเมินค่าภาวะโภชนาการและติดตามภาวะโภชนาการตามโครงการติดตามภาวะโภชนาการ หนูน้อย กินดี สมองดี สูงดี สมส่วน งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพสุขภาพเทศบาลตำบลแม่ขรี เป็นเงิน  21,550 บาท รายละเอียด ดังนี้ - ชุดอาหารส่งเสริมโภชนาการแต่ละช่วงอายุ จำนวน 22 ชุด ชุดละ 15 บาท ต่อวัน จำนวน 60 วันเป็นเงิน 19,800 บาท (นมและไข่) - ค่าคู่มือการส่งเสริมและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก 0 – 5 ปีรายบุคคล จำนวน 22 ชุด ชุดละ 15 บาท เป็นเงิน 330 บาท - ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 100 บาท - ค่าอุปกรณ์ติดตามค่าความเข้มข้นเลือด ชุดละ 30 บาท จำนวน 44 ชุด เป็นเงิน 1,320 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 21,550บาท (สองหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21550.00

กิจกรรมที่ 3 3.ขั้นสรุปผล

ชื่อกิจกรรม
3.ขั้นสรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงของค่าน้ำหนัก ส่วนสูง และความเข้มข้นของเลือด อยู่ในเกณฑ์ปกติ สูงดีสมส่วนของภาวะโภชนาการเด็กในช่วง 0 – 5 ปี เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 70
2. เพิ่มอัตราการตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการพบสูงดีสมส่วน ในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ร้อยละ 60 ตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
3. ลดอัตราการตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการพบมีภาวะผอม ในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ให้น้อยกว่าร้อยละ 5.5ตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขกำหนด


>