กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอนรัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาสาสมัครบริบาลเพิ่มสุขผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอนรัก

1……นางสาวไซนับ เจ๊ะเละ
2……นางสาวปารีซ๊ะ ดอเลาะ…
3……นางสาวตูแวสง นิโอะ…
4……นายนิกาแม นิตีมุง…
5……นายอีดือเรส เจ๊ะการือมอ

พื้นที่ตำบลดอนรัก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัจจุบันสังคมไทยเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นของประเทศไทย ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จากการเจ็บป่วย อาจจะมาจากอบุติเหตุ เจ็บป่วยตามอายุหรือโรคภัยไข้เจ็บการจากโรคติดต่อแบบเฉียบพลันเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องได้รับบริการดูแลแบบต่อเนื่อง
จากการสำรวจข้อมูลในตำบลดอนรัก พบว่ามีจำนวนคนไข้เปราะบางที่เข้าข่ายเป็นผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงและผู้พิการจำนวน 38 คน และจากการศึกษาสภาพปัญหาการดูแลตัวเองเบื้องต้น ทั้งที่ช่วยเหลือตัวเองได้และไม่ได้ ส่วนหนึ่งมาจากการขาดผู้ดูแล ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียงอาศัยอยู่ตามลำพัง ทำให้ผู้ป่วยติดบ้าน / ติดเตียงรู้สึกท้อแท้ เหนื่อยหน่ายต่อชีวิต ขาดกำลังใจในการดำรงชีวิต บางคนถึงกับไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไปจึงได้พัฒนารูปแบบกระบวนการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ต่อเนื่องที่บ้าน ให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ อันประกอบด้วย ส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันการรักษา การฟื้นฟูสุขภาพ และการดำรงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ของสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และสังคม
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางกลุ่มอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นตำบลดอนรัก จึงได้จัดทำโครงการอาสาบริบาลเพิ่มสุข ผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงและผู้พิการ ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล สร้างความเชื่อมั่น สร้างขวัญและกำลังใจ ตลอดจนการให้ความรู้แนะนำการดูแลสุขภาพและการปฏิบัติตัว การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรวมถึงการสร้างความเข้าใจกับผู้ดูแลให้มากขึ้น เมื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ไม่รู้สึกโดดเดียว และมีกำลังใจสู้ชีวิตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 25
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 5
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดการมีส่วนร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้าน โภชนาการการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม
2. สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า


>