กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเรียนรู้ทักษะชีวิตเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเด็กวัยรุ่น รพ.สต.บ้านวังตง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเรียนรู้ทักษะชีวิตเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเด็กวัยรุ่น รพ.สต.บ้านวังตง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตง

1. นางสุรัชดาอุมายี
2.นางสุภาพันธ์เกื้อเดช
3.นายสมใจหลังเถาะ
4.นางสาวยุวรีแกสมาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่งผลกระทบเชิงลบทางสุขภาพต่อตัวแม่วัยรุ่นและทารกเนื่องจากวัยรุ่นตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า เช่น การเสียชีวิตของมารดาการเสียชีวิตของทารก ทารกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์รวมถึงปัญหาภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังส่งผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษา หน้าที่การงาน รวมทั้งรายได้ในอนาคต จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2556 พบว่าร้อยละ 32 ชองวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ต้องออกจากการศึกษา ซึ่งการตั้งครรภ์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องหยุดเรียน นอกจากนั้น ข้อมูลการสำรวจสภาวะสังคมและเศรษฐกิจยังชี้ให้เห็นว่า ผู้หญิงที่มีบุตรตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น มีโอกาสที่จะได้เรียนต่อในระดับปริญญาตรีน้อยกว่าผู้หญิงทั่วไปถึง 12 เท่า และมีโอกาสได้งานในสายวิชาชีพน้อยกว่าผู้หญิงทั่วไป 6 เท่าส่งผลให้ผู้หญิงที่มีบุตรตั้งแต่เป็นวัยรุ่นสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้ตลอดชีวิตไปกว่าร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับผู้หญิงทั่วไป จากสถานการณ์ในพื้นในปี 2564 อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพบว่าร้อยละ 14.29 ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 17.86 จึงส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของมาดาและทารก จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินการแก้ปัญหาความไม่พร้อมในการเลี้ยงดูบุตรของแม่วัยรุ่นซึ่งยังทำให้เด็กจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้งซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กในอนาคตได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. วัยรุ่นมีความรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต สามารถงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ ป้องกันการตั้งครรภ์ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ รวมถึงได้รับการดูแลช่วยเหลือ และคุ้มครองอย่างเป็นระบบเมื่อประสบปัญหา

-วัยรุ่นมีความรู้ ความเข้าใจการเกี่ยวกับเพศศึกษา และการเรียนรู้ทักษะชีวิต การใช้ชีวติที่ปลอดภัยจากโรคหรือภัยต่อสุขภาพของตนเอง

0.00
2 2.ครอบครัวคิดเชิงบวก และมีบทบาทในการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรหลาน เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

-ผู้ปกครองมีทัศนะคติที่ดีในการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรหลาน

0.00
3 3.วัยรุ่นรุ่นที่ตั้งครรภ์ได้รับการปรึกษาทางเลือก สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ รวมถึงได้รับบริการที่เป็นมิตร และถูกต้องตามหลักวิชาการในการฝากครรภ์ การตลอด การดูแลสุขภาพหลังคลอด หรือการยุติการตั้งครรภ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ

-วัยรุ่นที่ประสบปัญหารวมถึงหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับบริการที่เป็นมิตรเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ได้อย่างเหมาะสม -อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20ปีลดลง

0.00
4 4.พ่อแม่วัยรุ่นได้รับคำแนะนำและการช่วยเหลือเกี่ยวกับการดูแลบุตรการจัดบริการทดแทนกรณีที่ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ การได้รับสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสม

-วัยรุ่น/พ่อแม่สามารถรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือสวัสดิการทางสังคมได้อย่างเหมาะสม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการใช้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการใช้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 1 คน × 6 ชม ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารว่างเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนจำนวน 2 มื้อๆละ x 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวันมื้อละ 50 บาท× 40คน เป็นเงิน 2,000 บาท
-ค่าป้ายโครงการ จำนวน500 บาท
-ค่าวัสดุสื่อการเรียน -ปากกาเคมี 20 เล่มๆละ 15 บาท เป็นเงิน 300 บาท -ค่ากระดาษปรุ๊ฟจำนวน 30 แผ่นๆละ 5 บาท เป็นเงิน 150 บาท -ค่าสมุดปกอ่อนจำนวน 40 เล่มๆละ 5บาท เป็นเงิน200บาท -ดินสอจำนวน 40 แท่งๆละ 5 บาท เป็นเงิน 200บาท -แฟ้มใส่เอกสาร จำนวน 40ใบๆละ 15 บาทเป็นเงิน200 บาท -คลิปหนีบกระดาษตัวใหญ่ จำนวน 20 ตัวๆละ 10 บาท เป็นเงิน 200 บาท

รวมเป็นเงิน 9,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. วัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยและสอดคล้องกับช่วงวัย
2. พ่อแม่/ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถสื่อสารเรื่องเพศเพื่อเพิ่มสัมพันธ์ภาพกับบุตรหลานได้
3. วัยรุ่นเข้าถึงบริการสุขภาพทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตร
4. วัยรุ่นได้รับการช่วยเหลือ และคุ้มครองอย่างเป็นระบบเมื่อประสบปัญหา
5.รพ.สต.มีบทบาทในการดำเนินป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่


>