กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ใส่ใจสุขภาพแม่ ลูก คลองรี ปี 65

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 1 ตำบลตุยง

1. นางฮะสือนะ มะเซ็ง
2. นางมารียะห์ เจ๊ะอาแซ
3. นางจินดาพร ขวัญไฝ
4. นางคอลีเยาะ บือราเฮง
5. นางปิอะ ดอเลาะ

หมู่ที่ 1 บ้านคลองรี ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

36.36
2 ร้อยละของเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

 

65.00
3 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

 

0.00

หมู่ที่ 1 บ้านคลองรี ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก เป็นพื้นที่ที่ติดทะเล ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง รับจ้างทั่วไป เช่นเป็นลูกจ้างที่ร้านต้มยำในประเทศเพื่อนบ้าน ตามลำดับ ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของการอนามัยแม่และเด็กมายาวนาน เช่น การฝากครรภ์ต่ำกว่าเกณฑ์เนื่องจากแม่ขาดนัดเพราะไม่อยู่บ้านไปทำงานประเทศเพื่อนบ้าน การได้รับวัคซีนของบุตรหลานอายุ 0 – 5 ปี ต่ำกว่าเกณฑ์เนื่องจากไม่มีคนดูแลในการพาไปฉีด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวจนถึงอายุ 6 เดือน จากการรวบรวมข้อมูลของชมรม อสม.ในพื้นที่พบว่า เมื่อมีการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์หลายคนจะมีความเชื่อว่าจะต้องไปฝากท้องกับผดุงครรภ์โบราณไม่ค่อยนิยมมาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล และเมื่อถึงเวลาคลอดก็จะคลอดกับผดุงครรภ์โบราณ ทำให้เด็กบางส่วนไม่ได้รับการฉีดวัคซีนและตรวจพัฒนาการ ซึ่งนับเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของหมู่บ้าน
ทางชมรมเคยจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหานี้มาแล้วและบรรลุตามวัตถุประสงค์ในระดับหนึ่ง ยังคงเป็นปัญหาทางสุขภาพของพื้นที่ จำเป็นที่จะต้องดำเนินโครงการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการตั้งครรภ์มีส่วนสำคัญมากต่อเด็กในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการดูแลที่ถูกต้องในทุกเรื่อง เช่น การเอาใจใส่ให้ความสำคัญกับการฝากครรภ์ การตรวจโรคติดต่อต่างๆที่จะส่งผลต่อพัฒนาการของบุตรในครรภ์ การโภชนาการที่ดีถูกต้อง การดูแลจากคนรอบข้าง การรับวัคซีน สุขภาพจิตที่ดี สิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อสุขภาพของแม่และเด็ก เพื่อให้งานอนามัยแม่และเด็กได้มีการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่หมู่บ้าน มองเห็นว่าซึ่งปัญหานี้จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของหญิงวัยเจริญพันธุ์และส่งผลกระทบต่อเด็กที่อยู่ในครรภ์ ตลอดจนการเลี้ยงลูกเมื่อคลอดออกมา มีวิธีการปฏิบัติอย่างไรบ้าง เพื่อให้บุตรหลานมีพัฒนาการที่ดี จึงได้จัดทำโครงการเพื่อขอการพิจารณาจากคณะกรรมการกองทุนฯ ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพการอนามัยแม่และเด็ก

ร้อยละ 100 ของหญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับและมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพการอนามัยแม่และเด็ก

11.00 11.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

11.00 0.00
3 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับการฉีดวัคซีนและตรวจพัฒนาการตามวัย

เด็ก 0-5 ปีได้รับการฉีดวัคซีนและตรวจพัฒนาการตามวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

29.00 26.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 29
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมขับเคลื่อน พัฒนาระบบและกลไกด้านการดูแลแม่และเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมขับเคลื่อน พัฒนาระบบและกลไกด้านการดูแลแม่และเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมขับเคลื่อน พัฒนาระบบและกลไกด้านการดูแลแม่และเด็ก โดยการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพและสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0-5 ปี ประกอบด้วยหญิงวัยเจริญพันธุ์ อสม. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ฯลฯ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการจัดประชุม เพื่อขับเคลื่อน25 บาท x 80 มื้อเป็นเงิน2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในหมู่บ้าน
  2. มีการขับเคลื่อนในกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนดไว้
  3. ประชาชนให้ความสำคัญต่อหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0-5 ปี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมพัฒนาทักษะองค์ความรู้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานรัฐ

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมพัฒนาทักษะองค์ความรู้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานรัฐ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/ อสม.และหญิงวัยเจริญพันธุ์
- ค่าวิทยากร ชม.ละ 600..บ.x…5  ชม. เป็นเงิน   3,000  บาท - ค่าอาหารกลางวัน 60 บ x 60 มื้อ  เป็นเงิน  3,600  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ  35 บาท x 2 มื้อ x 60 คน  เป็นเงิน  4,200 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ (ปากกาเคมี ปากกาลูกลื่น สมุด กระดาษไข และอื่นๆ)  เป็นเงิน 2,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในงานอนามัยแม่และเด็กและสามารถไปเผยแพร่ และให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาในชุชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมหลังคลอด / เยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมหลังคลอด / เยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สร้างความสัมพันธ์ในหมู่บ้าน
  2. มีข้อมูลสภาวะสุขภาพของอนามัยแม่และเด็กเป็นปัจจุบันและเป็นจริง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงาน จัดทำรายงานเพื่อส่งคณะกรรมการกองทุน

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานรูปเล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. ประชุมผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/อสม. และหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมๆตามแผนการดำเนินงานโครงการ
2. ชมรมอสม/เครือข่ายสุขภาพค้นหาหญิงตั้งครรภ์เพื่อเข้าสู่ระบบฝากครรภ์โดยเร็วก่อน 12 สัปดาห์และติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ตามนัด
3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขคืนข้อมูลเพื่อการติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับการฝากครรภ์ตามเกณฑ์
4. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขคืนข้อมูลเพื่อการติดตามเด็ก 0-5 ปีให้ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์และตรวจพัฒนาการตามวัย
5. ชมรมอสม./เครือข่ายสุขภาพติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับการฝากครรภ์ตามเกณฑ์และติดตามเด็ก 0-5 ปีให้ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์และตรวจพัฒนาการตามวัย
6. พัฒนาระบบการบริการและส่งต่อจากเชิงรับเป็นเชิงรุก
7. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และเอาใจใส่เรื่องการดูแลสุขภาพการอนามัยแม่และเด็กเพิ่มมากขึ้น
2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์เพิ่มมากขึ้น
3. เด็ก 0-5 ปีได้รับการฉีดวัคซีนและตรวจพัฒนาการตามวัย
4. ประชาชนให้ความสำคัญต่อการแพทย์แผนปัจจุบันมากกว่าโบราณ


>