กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตำบลบ้านควน ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน

1.นางปทุมมาศ โลหะจินดา ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.ต.บ้านควน เบอร์ติดต่อ 093-6050635
2.นางสุภา นวลดุก ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์ติดต่อ 089-4088530
3.นางวัชรี บินสอาด ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์ติดต่อ 089-9743341
4.นางสาวโสภิตรา นารีเปน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์ติดต่อ 086-9553967
5.นางสาวนุสรัตน์ นุ่งอาหลี ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ เบอร์ติดต่อ 088-7955154

ชุมชนหมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

 

92.06
2 ร้อยละของกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง กลายเป็นกลุ่มสงสัยป่วย

 

4.46
3 ร้อยละของกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปฏิเสธการรักษาไม่ได้รับการวินิจฉัยโรค

 

50.00

โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น “ภัยเงียบ”เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมากและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและอาจสูญเสียอวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ตา เท้า ไต และหัวใจ สาเหตุเกิดจากพันธุกรรม และสาเหตุหลักคือ การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งการบริโภคผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียดการสูบบุหรี่และดื่มสุรา
จากผลงานการคัดกรองทุกๆปี่ผ่านมาพบว่ากลุ่มป่วยรายใหม่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ในการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพประจำปี ทำให้รู้ไม่เท่าทันสุขภาพตนเองส่งผลให้เกิดอัตราป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตามมา ดังนั้น รพ.สต.ตำบลบ้านควนจึงจัดทำโครงการคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตำบลบ้านควน ปี 2565 ขึ้น เพื่อคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ดูแลให้ได้รับความรู้3อ.2ส. ได้รับการติดตามภาวะสุขภาพโดยแกนนำ อสม.ในเขตรับผิดชอบ เฝ้าระวังไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่และกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการส่งต่อพบเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เพื่อพิจารณาส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคโดยเร็วได้รับการส่งต่อเข้าคลินิกโรคเรื้อรัง ติดตามภาวะสุขภาพ รักษาอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วยสามารถประเมินสุขภาพ และเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง มีแบบแผนการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องเหมาะสมตามวิถีชีวิตของชุมชนบ้านควน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 95

92.06 95.00
2 เพื่อค้นหา เฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยงไม่ให้กลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่

ร้อยละ 100

4.46 100.00
3 เพื่อค้นหากลุ่มสงสัยป่วยส่งต่อให้ได้รับวินิจฉัยเร็วที่สุด

100

50.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 2,080
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการและจัดเตรียมเอกสาร

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการและจัดเตรียมเอกสาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการ กิจกรรมที่ทำ มีการชั่งน้ำหนัก/วัดรอบเอว/วัดความดันโลหิต ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด ในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป
  2. จัดทำเอกสารคัดกรองสุขภาพแบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกวิเคราะห์ผลการคัดกรอง ในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป รายละเอียดงบประมาณ
    2.1. แบบสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในการบันทึกข้อมูลทั่วไปและบันทึกผลการตรวจสุขภาพจำนวน 2,080 ฉบับ เป็นเงิน 832.-บาท
    2.2. เอกสารวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไป ของ อสม.และแบบสรุปในภาพรวมของแต่ละหมู่บ้านจำนวน 460 ฉบับ เป็นเงิน 184.- บาท
    2.3. สมุดประจำตัวกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยรายใหม่ และ ทดแทนเล่มเก่าสำหรับผู้ป่วยเก่าจำนวน 186 เล่มๆละ 90 บาท เป็นเงิน 16,740 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในเขตรับผิดชอบทราบถึงโครงการที่มีในชุมชนอย่างทั่วถึงและ ตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17756.00

กิจกรรมที่ 2 ออกหน่วยรณรงค์ให้บริการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในประชาชน อายุ มากกว่า 35 ปี

ชื่อกิจกรรม
ออกหน่วยรณรงค์ให้บริการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในประชาชน อายุ มากกว่า 35 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แกนนำ อสม.ลงพื้นที่รณรงค์ตรวจสุขภาพ คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยมี มีการซักประวัติข้อมูลทั่วไป ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง วัดรอบเอวคำนวณ BMIวัดความดันโลหิตและ ตรวจระดับน้ำตาลในหลอดเลือดฝอยจำนวน 3 ครั้งเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการให้มากที่สุด
  2. จัดทำทะเบียน โดยแยกกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย
  3. ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และ โรคความดันโลหิตสูง ให้แกนนำ อสม.ติดตามภาวะสุขภาพต่อไป
  4. ส่งต่อกลุ่มสงสัยป่วย โรคเบาหวาน และ โรคความดันโลหิตสูง ให้พบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัย และ ได้รับการดูแลรักษาเร็วที่สุด
  5. บันทึกผลการตรวจคัดกรองในโปรแกรม JHCIS ของ รพ.สต.ต่อไป
    รายละเอียดงบประมาณ
    1.1 ค่าอาหารว่่างแกนนำ อสม.ลงพื้นที่รณรงค์ตรวจสุขภาพ คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 91 คนๆละ 25 บาท จำนวน 3 วันเป็นเงิน 6,825 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรเข้าถึงบริการ และได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6825.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,581.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป เข้าถึงบริการ ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เฝ้าระวังภาวะสุขภาพตนเอง เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
2. กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการส่งต่อข้อมูลไปยังแกนนำ อสม.ในเขตรับผิดชอบได้รับการดูแล ติดตาม เฝ้าระวังภาวะสุขภาพ ส่งเสริมความรู้ในเรื่อง 3อ.2ส. และ กลุ่มเสี่ยงสามารถประเมินสุขภาพตนเองได้ กรณีที่พบความผิดปกติเมื่อกลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิต อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่งผลให้อัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดลง.
3. กลุ่มสงสัยป่วย ที่ได้รับการส่งต่อพบเจ้าหน้าที่ได้รับการติดตามสุขภาพจากเจ้าหน้าที่ กรณีที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ จะได้รับการส่งต่อพบแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด ได้รับการส่งต่อเข้าระบบคลินิกโรคเรื้อรัง และได้รับการติดตามสุขภาพต่อเนื่อง เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงต่อไป


>