กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกงู

ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือที่เรียกว่า “โรควิถีชีวิต” 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และ โรคมะเร็ง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมการสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล (ทานหวาน มัน เค็ม มากเกินไป และทานผัก ผลไม้น้อยไป) การเคลื่อนไหวทางกายน้อย การบริโภคยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงภาวะเครียด ซึ่งหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรควิถีชีวิต พิการ และเสียชีวิตตามมา นอกจากนี้ ยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล
จากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปี พ.ศ. 2561 ขององค์การอนามัยโลก พบว่า 1 ใน 10 ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ 1 ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ พบว่าประมาณร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก เกิดจากโรควิถีชีวิต สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปโดยการตรวจร่างกาย พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานเป็นร้อยละ 6.9 ทั้งนี้พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นเบาหวานไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวนมาก่อน และมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 3.3 ความชุกของ 40 ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน และมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ได้รับการรักษา
จากสถิติที่กล่าวมาข้างต้นของผู้ที่เป็นโรคไม่ได้รับการคัดกรองและไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคมาก่อน ยังมีจำนวนมากซึ่งบ่งชี้ถึงปัญหาของการคัดกรองที่ไม่ครอบคลุม ทำให้ประชากรขาดโอกาสในการได้รับการคัดกรอง และการเฝ้าระวังโรค การได้รับการแนะนำในการป้องกันโรค กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน โดยนายแพทย์วิชัย เทียนถาวร (2556) ได้ประยุกต์ กระบวนการสร้างสุขภาพสู่งานสาธารณสุขมูลฐานนำมาสู่การพัฒนาการเฝ้าระวัง คัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเพื่อลดอุบัติการณ์เกิดโรค และภาวะแทรกซ้อน
ปี 2564 มีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านโคกงู จำนวน 1,452 คน ได้รับการตรวจคัดกรองจำนวนทั้งหมด 1,418 คน คิดเป็นร้อยละ 97.66 พบประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ10.53 สงสัยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 6.33 เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวน 487 คน คิดเป็นร้อยละ 33.15 สงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 5.40
เพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยและป้องกันโรคในกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การสร้างสุขภาพนำซ่อมเพื่อแก้ปัญหาโรคเรื้อรัง โดยเน้นการคัดกรอง สุขภาพ เฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยใช้เครื่องมือ “ ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี “ จากการรายงานการสำรวจสุขภาพของทั้งกลุ่มเสี่ยงละกลุ่มป่วยด้วย 3อ 2ส ได้แก่ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการเกี่ยวกับอารมณ์ และการลดการสูบบุหรี่ สิ่งมึนเมา อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตประชากรในพื้นที่ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกงู จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ปี 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/อัมพฤกษ์ อัมพาตแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 95

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ผู้ที่ได้รับการคัดกรองและพบภาวะเสี่ยงหรือป่วย ได้รับความรู้ทักษะและพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันและควบคุมโรค ร้อยละ 95

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

กลุ่มป่วยได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์และได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 65
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 65
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 180 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บ. X 3 ครั้ง = 18,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 180 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บ.x 2 ครั้ง= 9,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
3. กลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น


>