กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

รพ.สต.บ้านโคกงู

รพ.สต.บ้านโคกงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าโรคมะเร็งทุกชนิดเป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆ และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จากสถิติ พบว่าสาเหตุการป่วยด้วยมะเร็งเต้านมมีอัตรา 28.26 พบมากในสตรีอายุ 35 – 60 ปี รองลงมาคือมะเร็งปากมดลูก ซึ่งในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45 – 50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยพบรายใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ แต่อัตราการอยู่รอด 5 ปี วิธีการป้องกันที่สำคัญที่สุด ของมะเร็งทั้ง 2 ชนิด คือการค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ จะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรกเพื่อรับการรักษาก่อนจะลุกลาม และการป้องกันที่ดีที่สุด คือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด จากผลการศึกษาของ International Agency for Research on Cancer (IARC/WHO) พบว่าถ้าการทำ Pap Smear 1 ครั้งทุกปี หรือ 1 ครั้งทุก 2 ปี หรือ 1 ครั้งทุก 3 ปี จะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงร้อยละ 91 – 93 และการทำ Pap smear 1 ครั้งทุก 5 ปีจะลดลงร้อยละ 84 (โดยทำ Screen ในผู้หญิงอายุ 35 – 64 ปี) ดังนั้นการให้ความรู้ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง การฝึกทักษะในการสังเกต การสร้างความตระหนักแก่ประชาชนกลุ่มสตรี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลป้องกันตนเอง การตรวจคัดกรองค้นหาความผิดปกติในระยะแรก ทำให้สามารถได้รับการดูแลรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ลดอัตราป่วย และลดอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้
จากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลบ้านโคกงู ตั้งแต่ปี 2558 –2563 ในกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก สะสม 5 ปี จำนวน 248 คน คิดเป็นร้อยละ 54.69 (ต่ำกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดสะสมมากกว่าร้อยละ 80) และสำหรับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม กลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2563 ได้คัดกรองโรคมะเร็งเต้านม จำนวน 771 คน คิดเป็นร้อยละ 95.69 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่ก็จำเป็นจะต้องดำเนินการตรวจทุกปี เพื่อการรักษาที่รวดเร็ว หากพบความผิดปกติจึงจำเป็นจะต้องจัดกิจกรรมให้ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มความรู้ เพิ่มความตระหนัก และให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองฯในกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลทำให้ไม่พบอัตราป่วยและอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมหรือมีอัตราลดลง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง จึงได้จัดทำโครงการนี้ เพื่อส่งเสริมให้สตรีมีความรู้ความตระหนักถึงผลกระทบ และกระตุ้นให้สตรีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกสะสม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 หรือคิดเป็นรายปี มากกว่าร้อยละ 20

สตรีอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมรายปี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อค้นหากลุ่มป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ไม่รุนแรง เพื่อส่งต่อรักษาอย่างต่อเนื่อง

ผู้ป่วยที่สงสัยว่าป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม ได้รับการส่งต่อ รักษาทุกราย ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ 1.1 รณรงค์ให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่รพ.สต.บ้านโคกงู 1.2 ส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจคัดกรองความผิดปกติพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกสะสม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 หรือคิดเป็นรายปี มากกว่าร้อยละ 20 สตรีอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมรายปี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมมหกรรมรณรงค์คัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมมหกรรมรณรงค์คัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน - ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 100 คน = 5,000 บ. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อx 100 คน = 5,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม -กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมที่ รพ.สต.บ้านโคกงู

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และเกิดความตระหนักในการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
2. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตรา การเกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะที่ไม่รุนแรง


>