กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

แม่สมส่วน ลูกสมบูรณ์ ตำบลลุโบะสาวอ ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ

ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

90.30
2 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)

 

11.32

การดูแลหญิงมีครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก เพราะหากหญิงมีครรภ์เหล่านี้ได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว จะสามารถป้องกัน และลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคธาลัสซีเมีย เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะโลหิตจาง เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลและแก้ไขต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที่ขณะตั้งครรภ์แล้ว จะส่งผล กระทบต่อแม่และเด็กในด้านความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด

จากรายงานการดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ ใน ปีงบประมาณ 2564 พบว่า จำนวนหญิงมีครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์มีจำนวนทั้งสิ้น 96 คน ซึ่งร้อยละ 89.87 มา รับบริการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 92.41 มาฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 6.38 อัตราทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ซึ่งในตัวชี้วัดระดับจังหวัดได้กำหนดอัตราทารกแรก เกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 และร้อยละ 18.67 มีภาวะโลหิตจางครั้งแรกที่มารับบริการฝาก ครรภ์ ร้อยละ 28.57 มีภาวะโลหิตจางครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไป ร้อยละ 7.29 มีภาวะโลหิตจางครั้ง ที่ 3 จากการตรวจ ณ ห้องคลอด ซึ่งในตัวชี้วัดระดับจังหวัดได้กำหนดอัตราภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ไม่เกิน ร้อยละ 10 จากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนหญิงมีครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงที่จะ เกิดภาวะโลหิตจาง คิดเป็นร้อยละ 18.17 จากจำนวนหญิงมีครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ทั้งหมด และหลัง

เพื่อเป็นการลดปัญหาสุขภาพทุกประเภทที่อาจจะเกิดขึ้นในหญิงขณะตั้งครรภ์ ในระหว่างคลอด คลอดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอจึงมีแนวคิดในการพัฒนากระบวนการในการดูแลหญิงมีครรภ์ โดย ต้องได้รับการดูแลฝากครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขครบ 5 ครั้ง หญิงมีครรภ์มาฝากครรภ์ตั้งแต่อายุ ครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ครบถ้วนตามเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลถึง คุณภาพชีวิตมารดาและทารกมีสุขภาพดีตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ และหลังคลอด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

90.30 95.00
2 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)

11.32 8.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 140
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การตั้งครรภ์ในทรรศนะของศาสนาอิสลาม

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การตั้งครรภ์ในทรรศนะของศาสนาอิสลาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จํานวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
  3. ค่าอาหารว่าง จํานวน 2 มื้อๆ ละ 25.-บาท จํานวน 45 คน
  4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50.-บาท จํานวน 45 คน 5. ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับผู้เข้าอบรม ชุดละ 50 บาท จำนวน 45 คน เป็นเงิน 1,000.-บาท เป็นเงิน 2,400.-บาท เป็นเงิน 2,250.-บาท เป็นเงิน 2,250.-บาท เป็นเงิน 2,250.-บาท รวมเป็นเงิน 10,150.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10150.00

กิจกรรมที่ 2 อาหารเสริมแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางและกลุ่มเสี่ยงต่อการมีภาวะโลหิตจาง

ชื่อกิจกรรม
อาหารเสริมแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางและกลุ่มเสี่ยงต่อการมีภาวะโลหิตจาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท เป็นเงิน 2,400.-บาท
  2. ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 45 คน เป็นเงิน 2,250.-บาท
  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50.-บาท จำนวน 45 คน เป็นเงิน 2,250.-บาท
  4. ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับผู้เข้าอบรม ชุดละ 50 บาท จำนวน 45 คนเป็นเงิน 2,250.-บาท รวมเป็นเงิน 9.150.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9150.00

กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนอาหารเสริมแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางและกลุ่มเสี่ยงต่อการมีภาวะโลหิตจาง

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนอาหารเสริมแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางและกลุ่มเสี่ยงต่อการมีภาวะโลหิตจาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุนมเสริมธาตุเหล็กสำหรับหญิงตั้งครรภ์  จำนวน 50 คน  จำนวน1,200  กล่อง  เป็นเงิน 18,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

หญิงมีครรภ์รับรู้และตระหนักถึงภาวะเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์ และสามารถเข้ารับบริการดูแลโดยเจ้าหน้าที่ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข คือ ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพก่อนคลอด นอกจากนี้ยังสามารถลดอัตรามารดามีภาวะโลหิตจางและอัตราป่วยตายของทารกแรกคลอดอีกด้วย


>