กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลาเส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัณโรคเชิงรุก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลาเส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเส

ลานกิจกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

องค์การอนามัยโลกคาดประมาณว่า ในปี 2562 อุบัติการณ์ของผู้ป่วยวัณโรคของโลกสูงถึง 10 ล้านคนผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย (TB/HIV) 815,000 คน ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (Multi-drug resistant tuberculosis, MDR-TB) หรือดื้อยา rifampicin (rifampicin resistant tuberculosis, RR-TB) 465,000 คน และผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตประมาณ 1.2 ล้านคน วัณโรคอยู่ใน 10 อันดับแรกของสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลก ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่องค์การอนามัยโลกจัดเป็นกลุ่มประเทศที่มีภาระวัณโรคสูง (high burden countries) ได้แก่ มีภาระโรควัณโรค (TB) วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี (TB/HIV) และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) สูง จากรายงานองค์การอนามัยโลก พ.ศ. 2563 (WHO, Global TB report 2020) ได้คาดประมาณทางระบาดวิทยาว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำประมาณ 105,000 ราย หรือคิดเป็น 150 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี (TB/HIV) จำนวน 10,000 ราย ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตสูงถึง 11,000 ราย มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานหรือดื้อยา rifampicin (MDR/RR-TB) 2,500 ราย ซึ่งคาดประมาณว่าจะพบผู้ป่วยวัณโรค MDR/RR-TB คิดเป็นร้อยละ 1.7 ในผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ และร้อยละ 10 ในผู้ป่วยที่มีประวัติการรักษาวัณโรคมาก่อน จากผลการดําเนินงานในปีงบประมาณ 2562 พบว่ามีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค (ผู้ป่วยรายใหม่และกลับเป็นซ้ำ) จํานวน 87,789 ราย คิดเป็นอัตราความครอบคลุมของค้นหาและขึ้นทะเบียนรักษา ร้อยละ 84 (87,789/105,000) ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี 6,798 ราย คิดเป็นร้อยละ 10 ของผู้ที่ได้รับการตรวจเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาที่มีผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการจำนวน 1,221 ราย ได้รับยารักษา จำนวน 1,095 ราย ซึ่งข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า ผู้ป่วยใหม่และรักษาซ้ำมีผลการวินิจฉัยที่รวดเร็วโดยเทคโนโลยีอณูชีววิทยา เพียงร้อยละ 38 ผลสําเร็จการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนรักษาในปีงบประมาณ 2561 ในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ เท่ากับร้อยละ 85.0 ในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี เท่ากับร้อยละ 75 และในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรค MDR/RR-TB เท่ากับร้อยละ 54 ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคปอด ผู้สูงอายุที่สูบบุหรี่หรือมีโรคร่วม ผู้ต้องขังในเรือนจำ บุคลากรสาธารณสุข แรงงานข้ามชาติและแรงงานเคลื่อนย้าย ผู้อาศัยในที่คับแคบแออัด ชุมชนแออัด กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มผู้ป่วยโรคร่วมต่าง ๆ (HIV, DM, COPD, Silicosis เป็นต้น) เป็นต้น และในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเส มีผู้ป่วยด้วยโรควัณโรค ตั้งแต่ ปี 2561-2564 จำนวน 4 ราย รักษาหายและไม่กลับเป็นซ้ำ 3 ราย และ รักษาหายและกลับเป็นซ้ำ 1 ราย
อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)เป็นตัวแทนประชาชนที่ถูกคัดเลือกให้ทำงานด้านสาธารณสุข และมีงบประมาณสนับสนุนในรูปแบบของงานสาธารณสุขมูลฐาน อีกทั้งปัจจุบันได้รับการยอมรับจากส่วนต่างๆ ทั้งระดับประเทศ และในชุมชนเอง เป็นอย่างดี จึงมีความคล่องตัวต่อการดำเนินงานปรับเงื่อนไขทางสังคม และวัฒนธรรมของชุมชน ให้เอื้อต่อการป้องกันวัณโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง อสม. นับเป็นแกนนำด้านสุขภาพที่มีความสำคัญในชุมชน ได้รับการพัฒนาศักยภาพจากหน่วยงานสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดต่อของโรค การดูแลและรักษาพยาบาล อันตรายของโรค การป้องกันและควบคุมโรคที่ดีระดับหนึ่ง ทำให้มีความเป็นไปได้ในการมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาวัณโรคในชุมชนตนเอง
ดังนั้นเพื่อผลสำเร็จในการดำเนินงานวัณโรคดังกล่าวจึงจัดทำโครงการป้องกันวัณโรคเชิงรุกขึ้นเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงวัณโรคโดย อสม.ซึ่งเป็นแกนนำสำคัญที่ร่วมในการคัดกรองเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงในครั้งนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ อสม. มีความรู้เรื่องวัณโรค 2. เพื่อให้ อสม. มีความสามารถในการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคและกลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้ถูกต้อง 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้รับการคัดกรอง

อสม.ที่ได้รับการอบรมมีความรู้ เรื่องของวัณโรค และมีความสามารถในการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคและกลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้ถูกต้อง ทำให้เกิดการป้องกันและควบคุมโรควัณโรคที่ดีในชุมชนของตนเองต่อไป ส่งผลให้การระบาดของโรควัณโรคในพื้นที่ลดน้อยลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการวัณโรคเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
โครงการวัณโรคเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส    จำนวน  6,060 บาท
รายละเอียด ดังนี้ 1. กิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้เรื่องวัณโรค และแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคและกลุ่มเสี่ยงวัณโรค ๑. เอกสารประกอบการอบรม จำนวน ๓๐ เล่มๆละ 10 บาท      เป็นเงิน   30๐ บาท ๒. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อสม จำนวน ๓๐ คน มื้อละ ๒๕ บาท        เป็นเงิน   ๗๕๐    บาท ๓. ค่าวิทยากรจำนวน 2 ชม.ๆละ  3๐๐ บาท              เป็นเงิน   ๖๐๐ บาท 4. ค่าป้ายตกแต่งสถานที่จัดอบรม ๑ x ๒ ตร.ม. จำนวน ๑ ผืน      เป็นเงิน   3๐๐   บาท 2. กิจกรรม คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรควัณโรค 1. ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค ๒๕๐ ชุดๆละ๑บาท      เป็นเงิน   ๒๕๐    บาท 2. วัสดุอุปกรณ์ในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค                เป็นเงิน ๓,8๖๐  บาท        รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน 6,060 บาท (หกพันหกสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.ที่ได้รับการอบรมมีความรู้ เรื่องของวัณโรค และมีความสามารถในการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคและกลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้ถูกต้อง ทำให้เกิดการป้องกันและควบคุมโรควัณโรคที่ดีในชุมชนของตนเองต่อไป ส่งผลให้การระบาดของโรควัณโรคในพื้นที่ลดน้อยลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6060.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,060.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อสม.ที่ได้รับการอบรมมีความรู้ เรื่องของวัณโรค และมีความสามารถในการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคและกลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้ถูกต้อง ทำให้เกิดการป้องกันและควบคุมโรควัณโรคที่ดีในชุมชนของตนเองต่อไป ส่งผลให้การระบาดของโรควัณโรคในพื้นที่ลดน้อยลง


>