กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ไพรวัน ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

สำนักงานเลขาฯ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ไพรวัน

1. นายเวช คงชูดวง
2. นายซัมรี มะแอ
3. นางนฤมล อับดุลยาเล
4. นางสาวปิยรัชนี ทองจินดา
5. นางสาวลลิดา คงชนม์

ตำบลไพรวัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนฯ มีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ไพรวัน ปีงบประมาณ 2565 เพื่อเป็นการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพกองทุน ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

กองทุนสุขภาพตำบลมีการจัดประชุมกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า 4 ครั้งต่อปี

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 43

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนคณะกรรมการ จำนวน 21 คนๆ ละ 5 ครั้งๆ ละ 400.- บาท/คน เป็นเงิน 42,000.- บาท
  • ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 5 คนๆ ละ 5 ครั้งๆ ละ 400.- บาท/คน เป็นเงิน 10,000.- บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 26 คนๆ ละ 5 ครั้งๆ ละ 25.- บาท/คน เป็นเงิน 3,250.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ตามกำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
55250.00

กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการ จำนวน 12 คนๆ ละ 4 ครั้งๆ ละ 300.- บาท/คน เป็นเงิน 14,400.- บาท
  • ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 5 คนๆ ละ 4 ครั้งๆ ละ 300.- บาท/คน เป็นเงิน 6,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ตามกำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20400.00

กิจกรรมที่ 3 ค่าเดินทางไปราชการรวมถึงค่าลงทะเบียน

ชื่อกิจกรรม
ค่าเดินทางไปราชการรวมถึงค่าลงทะเบียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเดินทางไปราชการ เป็นเงิน 6,100.- บาท
  • ค่าลงทะเบียน เป็นเงิน 7,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ได้รับการพัฒนาศักยภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 88,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน ได้รับการพัฒนาศักยภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้
2. ประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกได้รับการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบล
3. การดำเนินงานกองทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. หน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ ครบถ้วน สมบูรณ์


>