กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.น้ำผุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีงบประมาณ 2565 (ชมรม อสม.รพ.สต.น้ำผุด)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.น้ำผุด

ชมรม อสม. รพ.สต.น้ำผุด

นางอารีย์เยาว์ดำ
น.ส.สุชาดาขาวสนั่น
นางวินเสนีย์
นางรีละวรรณสงหนอง
นายสุทิพย์สุดศรี

หมู่ที่ม.3,4,6,8,9,11 ตำบลน้ำผุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ) จากข้อมูลทางระบาดของประเทศไทย พบว่า มีการระบาดเป็นระลอก 3 จากข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 พบผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 2,223,435 ราย เสียชีวิตสะสม 21,698 ราย และในปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 พบผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 668,492 ราย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของจังหวัดตรัง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 พบผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 17,903 ราย เสียชีวิตสะสม 113 ราย และในปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 พบผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 3,885 ราย เสียชีวิตสะสม 23 ราย ในส่วนของอำเภอเมืองตรัง พบผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 4,127 ราย เสียชีวิตสะสมจำนวน 31 ราย และในปี 2564 ข้อมูลผู้ป่วยสะสมในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.น้ำผุด จำนวน 82 ราย เสียชีวิตสะสม 2 ราย และในปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 พบผู้ป่วยสะสม 54 ราย ยังไม่พบรายงานผู้เสียชีวิต
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกัน และลดการแพร่กระจายของโรคในชุมชน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำผุด และกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ได้เห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง และควบคุมการแพร่กระจายของกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน และกลุ่มที่มีอาการเข้าข่ายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ 2565ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1 เพื่อตรวจคัดกรองโรค และเฝ้าระวังควบคุมในกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสร่วมบ้าน และกลุ่มที่ประเมินแล้วมีอาการแสดงเข้าข่ายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5,131
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 . การดำเนินการตรวจคัดกรอง กลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสร่วมบ้าน และ กลุ่มที่มีอาการแสดง

ชื่อกิจกรรม
. การดำเนินการตรวจคัดกรอง กลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสร่วมบ้าน และ กลุ่มที่มีอาการแสดง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ชุดตรวจ ATK (แบบจมูก) จำนวน 350 ชุด ๆละ 60 บาท                                        เป็นเงิน 21,000.- บาท 1.2 ชุด PPE จำนวน 100 ชุด ๆ ละ  180 บาท                                              เป็นเงิน 18,000.- บาท 1.3 หน้ากากป้องกันละอองเชื้อโรค (Face shield) จำนวน      240 อันๆละ 29 บาท             เป็นเงิน   6,960.-  บาท 1.4 เอี๊ยมพลาสติกกันเปื้อนแขนยาว 240 ตัวๆละ 29 บาท                                             เป็นเงิน   6,960.-  บาท 1.5 ถุงมือสีฟ้าไนไตร จำนวน 10 กล่อง ๆ ละ 450 บาท                                              เป็นเงิน  4,500.-  บาท 1.6 หมวกตัวหนอน จำนวน 300 ใบๆละ 2 บาท                                             เป็นเงิน     600.-  บาท
1.7 หน้ากากอนามัย (Mask เกาหลี) จำนวน 100 แพ๊คๆละ      29 บาท                             เป็นเงิน   2,900.-  บาท 1.8 ถุงแดง ขนาด 18x20 นิ้ว จำนวน 20 แพ๊คๆละ 75 บาท                                             เป็นเงิน    1,500.-  บาท 1.9 ถุงดำ ขนาด 18x20 นิ้ว จำนวน 10 แพ๊คๆละ 75 บาท                                             เป็นเงิน    750.-  บ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อที่ 1 ร้อยละของกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่มีอาการแสดงเข้าข่ายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้รับการตรวจคัดกรองโรคและเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ข้อที่ 2 ร้อยละของประชาชนมีความเข้าใจและตระหนัก สามารถปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันควบคุมการระบาดได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63170.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 63,170.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน และกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการในชุมชน ได้รับการตรวจคัดกรอง และค้นหาการติดเชื้อ
โรคติดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2.ลดอัตราป่วย และอัตราเสียชีวิตด้วยโรคติดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
3.ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในการช่วยกันป้องกันตนเอง และบุคคลในชุมชนจาก โรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019


>