กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตั้งจุดคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อค้นหาผู้ป่วยโควิด-19 เชิงรุกในตำบลระวะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระวะ

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลระวะ

1.นางวราภรณ์ บุญเจริญ (081-9579123)
2.นางยุพาวรรณ อินอุ้ย
3.นางสุคนธ์ ทิพย์รองพล
4.นางสาวกฤษณา ชัยรักษ์
5.นางระวีวรรณ ช่วยเพชร

หมู่ที่ 1-7ตำบลระวะอำเภอระโนดจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน มีการพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งการแพร่ระบาดเริ่มต้นในกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ลักลอบข้ามพรมแดนอย่างผิดกฎหมายในจังหวัดสมุทรสาคร แพร่กระจายออกสู่คนไทย และปัจจุบันพบการแพร่ระบาดกลุ่มใหญ่ในผู้ที่มีประวัติไปยังสถานที่แออัดต่างๆ เช่น สถานบันเทิง งานแต่งงาน งานศพ ฯลฯ รวมทั้งมีการติดกันมากขึ้นในครอบครัว ด้วยสถานการณ์โรคที่มีการระบาดเป็นเวลานานทำให้ประชาชนละเลยการป้องกันส่วนบุคคล ทั้งยังมีการกลายพันธุ์ที่หลากหลายสายพันธุ์ที่ทำให้ไวต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ถึงแม้ว่าจะมีแนวทางและมาตรการการควบคุมป้องกันโรคได้เป็นอย่างดีก็ตาม แต่หากไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีในการควบคุมป้องกันโรค ก็จะทำให้การระบาดในวงกว้างนี้ยืดเยื้อออกไปอีก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คือกลุ่มประชาชนที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขดูแลสุขภาพประชาชนในครัวเรือนที่รับผิดชอบ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง ทันต่อสถานการณ์โรค และมีวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และการคัดกรองประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อไป
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการตั้งจุดคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อค้นหาผู้ป่วยโควิด-19 เชิงรุกในตำบลระวะขึ้นมา เพื่อเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน ผ่านการพัฒนาความรู้และสำรวจค้นหากลุ่มเสี่ยงที่เข้ามาในพื้นที่ เป็นตัวกลางการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปยังประชาชนในชุมชนและการคัดกรองประชาชนตามมาตรการของส่วนราชการ เพื่อลดอัตราการเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่ติดโควิด-19 และกลุ่มเสี่ยงสูงที่ได้สัมผัสผู้ป่วย

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

50.00 0.00
2 2.เพื่อไม่ให้มีการระบาดมากขึ้นในกลุ่มเสี่ยงสูง โดยให้กักบริเวณเพื่อลดการติดต่อของโรค

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

50.00 0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมชุมชนในการมีส่วนช่วยในการควบคุมโรค

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

50.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 31/10/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ตั้งจุดคัดกรองประชาชน เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในตำบลระวะ

ชื่อกิจกรรม
1.ตั้งจุดคัดกรองประชาชน เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในตำบลระวะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิเทอโมสแกนแบบขาตั้ง จำนวน 7 เครื่อง × 2,700 บ. = 18,900 บ. 2.ค่าแอลกอฮอล์ 70% ขนาด 5 ลิตร จำนวน 14 แกลลอน × 390 บ. = 5,460 บ. 3.ค่าหน้ากาก N95 จำนวน 7 กล่อง ×1,200 บ.= 8,400 บ. 4.ค่าน้ำยาฆ่าเชื้อ ขนาด 750 มล. จำนวน 21 ขวด × 475 บ.= 9,975 บ. 5.ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน 140 กล่อง × 120 บ.= 16,800 6.ถุงมือยางป้องกันเชื้อโรค ( M , L )    จำนวน 14 กล่อง × 260 บ.= 3,640 7.ค่าชุด PPE จำนวน70 ชุด × 220 บ. = 15,400 บ. 8.ค่าสเปรย์แอลกอฮอล์ ขนาด 330 มล. จำนวน 140 ขวด × 75 บ.= 10,500 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนตำบลระวะ และอาสาสมัครสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงาน ได้รับการคัดกรองไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
89075.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 89,075.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนตำบลระวะ และอาสาสมัครสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงาน ได้รับการคัดกรองเบื้องต้นในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ในงานต่างๆ ในตำบล และมีอุปกรณ์ป้องกันตนเองที่ปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานการณ์ การระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชน


>