กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ ผู้พิการกับนาฬิกาพลิกตะแคงตัวตำบลสะกอม(โตรงการนี้ไม่ได้อยู่มนแผน65 นะค่ะ)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกอม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ผู้พิการกับนาฬิกาพลิกตะแคงตัวตำบลสะกอม(โตรงการนี้ไม่ได้อยู่มนแผน65 นะค่ะ)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกอม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม

ชมรมผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคเร้ือรังและการกลับมารักษาตัวพักฟื้นที่บ้าน
ด้วยปัญหาการเจ็บป่วยเร้ือรังที่เพิ่มมากข้ึน ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไดน้อยหรือ
ช่วยเหลือตนเองไม่ได้เลย ผู้ป่วยที่มีขัอจำกัดการเคลื่อนไหวผู้ปวยโรคหลอดเลือดสมองผู้ป่วยมะเร็งระยะ
สุดท้ายหรือผู้ป่วยที่มานอนรักษาแบบประคับประคองที่บ้านด้วยระยะสุดท้ายของชีวิตมีจำนวนที่
เพิ่มมากขึ้น หนึ่่งในปัญหาที่สำคัญ ที่พบบ่อยในผู้ป่วยเหล่านี้คือการเกิดแผลกดทับ ซึ้งจากการเก็บรายงาน
แบบเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับ ตามแบบฟอร์มของทางโรงพยาบาลจะนะพบว่า ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2561, 2562, 2563,2564
และ 2565 พบการเกิดแผลกดทับน้อยมาก ถึงแม้ว่าจะไม่มีอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับ ที่โรงพยาบาลแต่ผู้ป่วยมี
ปัญหาแผลกดทับที่บ้านหรือจากสถานพยาบาลอื่นทำให้
อัตราการเกิดแผลกดทับนั้นมีโอกาสเพิ่มข้ึน จากปัญหาดังกล่าวรพ.สต.สะกอมจึงเล็งเห็นและได้มีการพัฒนาแนวทางการ
ป้องกันการเกิดแผลกดทับขึ้นโดยอาศัยข้อมูลเชิงประจักษ์มาเพื่อพฒันาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโดยใช้นาฬิกา
พลิกตะแคงตัว มาปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 อัตราการเกิดแผลกดทับลดน้อยลงหรือเท่ากับร้อยละ 0

ผุ้พิการไม่เกิดแผลกดทับร้อยละ 100

0.00

อัตราการเกิดแผลกับทับน้อยลงหรือเท่ากับร้อยละ0

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 20
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูแลผู้พิการ 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/05/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเกิดแผลกดทับโดยใช้นวัตกรรมนาฬิกาพลิกตะแคงตัวให้กับผู้ดูแผลผู้พิการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเกิดแผลกดทับโดยใช้นวัตกรรมนาฬิกาพลิกตะแคงตัวให้กับผู้ดูแผลผู้พิการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. มีการทบทวนการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่บ้าน
  2. ประชุมชี้แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง แจ้งสถิติของการเกิดแผลกดทับ หาสาเหตุ และแนวทางปฏิบัติ แก้ปัญหาร่วมกัน
  3. การปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ปวย มีการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับโดยใช้แบบประเมิน Braden scale
  4. หากผู้ป่วยมีคะแนนน้อยกว่า16 คะแนนก็จะให้การพยาบาลโดยพลิกตะแคงตัว ทุก 2 ชั่วโมง
  5. ลงมือปฏิบัติตามแนวทางอย่างเคร่งครัด
  6. ประเมินผลทุก 3 เดือน หาข้อบกพร่องเพื่อมาพัฒนาแก้ไขปรับปรุงแนวทางปฏิบัติร่วมกัน
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 2.จัดทำนาฬิกาพลิกตะแคงตัวร่วมกันกับผู้ดูแลผู้พิการ

ชื่อกิจกรรม
2.จัดทำนาฬิกาพลิกตะแคงตัวร่วมกันกับผู้ดูแลผู้พิการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เจ้าหน้าที่และอสม.มีการจัดทำ และรวบรวมข้อมูลการเกิดแผลกดทับในหน่วยงาน 2.คิดค้นและออกแบบที่จะนาฬิกาพลิกตะแคงตัวร่วมกันกับผู้ดูแลผู้พิการ มาใช้ในการลดอัตราการเกิดแผลกดทับ โดยการจัดทำ นาฬิกาพลิกตะแคงตัวให้กับผู้ป่วย
  2. นำวัสดุและอุปกรณ์มาทำนวัตกรรม
  3. ทดลองใช้กับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ 5.ปฏิบัติตามแนวทางการพลิกตะแคงตัว ผู้ป่วยตามนาฬิกาแขวนบอกท่าพลิกตะแคงตัว
  4. มีการตรวจสอบทุกเวรโดยญาติ/ผู้ดูแลผู้พิการและกระตุ้นให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม่าเสมอ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผุ้พิการมีนาฬิกาพลิกตะแคงตัว/ผู้ดูแลสามารถดูแลและตะหนักในการพลิกตะแคงตัวโดยการใช้นาฬิกาเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,500.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. การเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดแผลกดทับอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย
เพื่อเป็นโอกาสพัฒนาในหน่วยงาน
2. แผนการดำเนินการต่อเนื่องคือการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดแผลกดทับให้มีประสิทธิภาพ
และลดอัตราการเกิดแผลกดทับลง ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3.อสม.และผู้ดูแลผู้พิการที่บ้านมีความรู้ในการดูแลผู้พิการและปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


>