กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านควนดินแดง ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกลุ่มเมตาโบลิคนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีสามเหตุจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่นการออกกำลังกายการบริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วน และบริโภค ผัก ผลไม้ไม่พียงพอ ความเครียดเรื้อรัง การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น โดยประชาชนที่เสี่ยงหรือป่วย ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัย และการักษาที่เหมาะสม ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจเสียชีวิตเฉียบพลัน หรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้ เช่น โรคไตวาย ตาบอด โรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมองแตกได้
จากข้อมูลการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ พบว่า ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๑,๘๗๗ คน ได้รับการคัดกรองความดันโลหิต จำนวน ๑,๗๕๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๒๓ พบว่าประชากรที่มีภาวะความดันโลหิตจากการจากการคัดกรองอยู่ในกลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรค จำนวน ๖๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๕ และพบว่า ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน ๑,๗๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๘๕ โดยพบว่าจำนวนประชากรที่มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรองอยู่ในกลุ่มสงสัยป่วย จำนวน ๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๐.๓๒สำหรับการเกิดโรคเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถป้องกัน และหลีกเลี่ยงได้ หากได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องจึงมีแนวทางการดำเนินงานโดยเน้นวิธีการเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพ การคัดกรอง รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการให้บริการดูแลรักษาในสถานบริการทุกระดับให้มีมาตรฐาน ดังนั้นเพื่อเป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยลดภัยโรคเรื้อรังในการโรคเรื้อรังหรือโรควิถีชีวิตการเพิ่มความรู้แก่ประชากรกลุ่มเป้าหมาย โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองและควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านควนดินแดง ประจำปี 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รายใหม่

คัดกรอง DM/HT ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น

กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมถูกต้องร้อยละ ๙๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง ประชาสัมพันธ์โครงการ แก่ประชาชน ผู้นำ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง ประชาสัมพันธ์โครงการ แก่ประชาชน ผู้นำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 คัดกรอง ประชากรกลุ่ม 15-30 ปี และ 30 ปี ขึ้นไป ด้วยแบบฟอร์มคัดกรองความเสี่ยงฯ

ชื่อกิจกรรม
คัดกรอง ประชากรกลุ่ม 15-30 ปี และ 30 ปี ขึ้นไป ด้วยแบบฟอร์มคัดกรองความเสี่ยงฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าถ่ายเอกสาร แบบฟอร์มคัดกรอง จำนวน ๓,๐00 ชุดๆละ 2 แผ่นๆละ 50 สตางค์ เป็นเงิน ๓,๐00 บาท 2.ค่าถ่ายเอกสารความรู้ด้านการปฏิบัติตนห่างไกลโรค จำนวน ๓,๐00 ชุดๆ ละ 2 แผ่นๆละ 50 สตางค์ เป็นเงิน ๓,๐00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจน้ำตาลในเลือด โดยการเจาะปลายนิ้ว ในกุล่มเสี่ยง 15-30 ปี และ 30 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
ตรวจน้ำตาลในเลือด โดยการเจาะปลายนิ้ว ในกุล่มเสี่ยง 15-30 ปี และ 30 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือด พร้อมเข็มเจาะปลายนิ้ว จำนวน ๑๘ ชุดๆละ ๙๖๐ บาท เป็นเงิน  ๑๗,๒๘๐ บาท (๑ ชุดมี ๑๐๐ เซ็ต) ๒.เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว จำนวน ๓ เครื่องๆ ละ ๒,๖๕๐ บาท เป็นเงิน ๗,๙๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25230.00

กิจกรรมที่ 5 วัดความดันดันโลหิตสูง ในกลุ่ม อายุ 15 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
วัดความดันดันโลหิตสูง ในกลุ่ม อายุ 15 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 6 เครื่องๆ ละ ๓,๘๐๐ บาท เป็นเงิน ๒๒,๘๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22800.00

กิจกรรมที่ 6 ติดตามวัดความดันที่บ้านในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเสี่ยงสูงและให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
ติดตามวัดความดันที่บ้านในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเสี่ยงสูงและให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 54,030.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
2. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผิดปกติได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง
3. ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
4. ลดการเกิดโรครายใหม่


>