กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรค ลดพุงเพื่อลดภัยเงียบโรคเรื้อรัง ในคลินิก DPAC และในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง ประจำปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรค ลดพุงเพื่อลดภัยเงียบโรคเรื้อรัง ในคลินิก DPAC และในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไขเนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจนโรคที่เป็นผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ได้แก่ ข้อเข่าเสื่อม ภาวะอัมพฤกษ์อัมพาต ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งลำไส้ โรคซึมเศร้าเป็นต้นและยังพบว่าการตายในผู้ที่อายุระหว่าง ๒๐ – ๗๔ ปีกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งมีผลมาจากความอ้วนโรคหัวใจและหลอดเลือดยังเป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกปีละ ๑๗ล้านคนและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยคาดว่าในปีพ.ศ.๒๕๖๕ ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวประมาณ ๒๕ล้านคน ปัญหาสุขภาพเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค เป็นภาระของครอบครัวและประเทศนอกจากนี้ยังปรากฏว่าร้อยละ ๒-๘ ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นผลกระทบจากโรคอ้วน ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปในอีก ๑๐ ปีข้างหน้าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจสุขภาพประชากรไทยปีล่าสุด พ.ศ.๒๕๔๗ พบว่า ประชากรในประเทศไทยที่อายุมากกว่า ๓๕ ปี มีเส้นรอบพุงเกินกำหนดประมาณ ๙.๓ ล้านคน โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คือ เพศหญิงอ้วนลงพุง ๕๒%ผู้ชาย ๒๒% คนที่มีรอบเอวเพิ่มขึ้นทุก ๕ เซนติเมตร จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานเพิ่ม ๓-๕ เท่า จะเห็นได้ว่าเอวใหญ่ขึ้นเท่าไรก็ยิ่งเจ็บป่วยและตายเร็วขึ้นเท่านั้น จากการสำรวจสภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนของกรมอนามัย ปี ๒๕๕๐ พบว่าคนไทยอายุมากกว่า ๑๕ ปีขึ้นไป เพศชายมีภาวะอ้วนลงพุง ร้อยละร้อยละ ๒๔ และเพศหญิงร้อยละ ๖๐ โดยพบในผู้หญิงมากกว่าชาย ถึง ๒.๕ เท่าตัว ภาวะอ้วนลงพุงส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค กรรมพันธุ์ และไม่ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็งจากการคัดกรองภาวะสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง ปีงบประมาณ 256๓ พบว่ามีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานร้อยละ 36.15 มีภาวะโรคอ้วนร้อยละ44.31และมีภาวะอ้วนรุนแรง ร้อยละ 12.10 มีรอบเอวเกินมาตรฐานสูงถึงร้อยละ 82.22 (จากระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง วันที่ 1 พฤษภาคม 2564)
จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงเมื่อปีงบประมาณ 256๔ ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปรับการคัดกรอง 1,850 คน พบเสี่ยง(ระดับน้ำตาลในเลือด 100-126 mgdl) จำนวน 385 คน คิดเป็นร้อยละ 20.81ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบเสี่ยงสูง (ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 mgdl) จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 1.19ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบผู้ป่วยรายใหม่ขึ้นทะเบียนจำนวน3ราย อัตราป่วยรายใหม่คิดเป็น 75 ต่อแสนประชากร และจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง พบเสี่ยง(ระดับความดันโลหิต SBP120-139 mmHg หรือ DBP 80-89 mmHg) จำนวน 456 คน คิดเป็นร้อยละ24.65ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบเสี่ยงสูง (ระดับความดันโลหิต SBP>=140mmHg หรือ DBP >=90 mmHg)) จำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 6.38ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบผู้ป่วยรายใหม่ขึ้นทะเบียนจำนวน1ราย อัตราป่วยรายใหม่คิดเป็น 25 ต่อแสนประชากรดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรค ลดพุงเพื่อลดภัยเงียบโรคเรื้อรัง ในคลินิก DPAC และในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง เพื่อลดอัตราเกิดโรครายใหม่โรคเรื้อรังลดการเกิดโรคเรื้อรังลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบภาวะสุขภาพของตนเองได้

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพและแปรผลก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

ร้อยละกลุ่มเป้าหมายเลือกอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถลดภาวะความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดลงได้

กลุ่มเป้าหมายมีค่าระดับความดันโลหิตและค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าโปรแกรมคลินิกDPAC มีความอย่างต่อเนื่อง 100% มีการดำเนินงานคลินิก DPAC อย่างต่อเนื่อง
2.กลุ่มเสี่ยงลดการเกิดโรครายใหม่ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง


>