กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสอม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสอม

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเจ็ดบาท

น.ส.รัชนีวรรณ แสงศรี
น.ส.บุญลาภรักฤทธิ์
นางสุกานดา พลสังข์
นางนงเยาว์เพ็ชรมา
นางสุชีพ ถาวรนิละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเจ็ดบาท

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อัมพาต หรือ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดและ โรคเบาหวาน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก องค์การอัมพาตโลก รายงานว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลก 17 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 6.5 ล้านคน สำหรับในประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียอันเนื่องมาจากการตายก่อนวัยอันควรสูงเป็นอันดับต้นๆ รองลงมาจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและ โรคเบาหวานจะเห็นได้ว่าอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดและ โรคเบาหวานนั้นเพิ่มขึ้นทุกปี และเป็นภัยที่กำลังคุกคามประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้เพราะโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดและ โรคเบาหวานเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ และยังเป็นโรคที่สามารถเกิดได้กับประชากรทุกคนและทุกวัย ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคนี้จะได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ผู้ป่วยบางรายเกิดความพิการกลายเป็นภาระให้กับคนในครอบครัว ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
ซึ่งจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเจ็ดบาท จำนวน 5 หมู่บ้าน ปีงบประมาณ 2563 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 799 คนพบว่ามีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน76 คน คิดเป็นร้อยละ 9.57 ผู้สงสัยป่วยใหม่โรคความดันโลหิต จำนวน 27คน คิดเป็นร้อยละ 3.40ปีงบประมาณ 2564 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 808คนพบว่ามีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 67คน คิดเป็นร้อยละ8.45ผู้สงสัยป่วยใหม่โรคความดันโลหิตสูง จำนวน60 คน คิดเป็นร้อยละ 7.57นโยบายกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดบทบาทให้เจ้าหน้าที่ได้ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดสมองและ โรคหัวใจขาดเลือด การสังเกตสัญญาณเตือนของโรค แนวทางการดูแลกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง การมารับบริการเมื่อพบอาการของโรค และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและในชุมชนนั้นได้เน้นให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ได้มีการติดตามวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง วันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าหลังตื่นนอนและก่อนนอน เป็นระยะติดต่อกัน 7 วัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตแต่จากการสำรวจวัสดุอุปกรณ์เครื่องวัดความดันโลหิตปรากฏว่าเครื่องวัดความดันโลหิตของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเจ็ดบาทมีจำนวน 2 เครื่องซึ่งใช้ประจำที่ รพ.สต. ทำให้ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเจ็ดบาท จึงมีความจำเป็นต้องมีการซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตให้พร้อมใช้ในทุกหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนที่เพียงพอและได้ค่าการตรวจวัดที่เที่ยงตรง
จากความสำคัญดังกล่าวทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเจ็ดบาทจึงได้จัดโครงการส่งเสริมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มเสี่ยง เพื่อเฝ้าระวังป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงกลุ่มสงสัยจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ กลุ่มผู้ป่วยเดิมและกลุ่มป่วยใหม่ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและโรคดังกล่าวข้างต้นโดยการสอนและวัดความดันโลหิตที่บ้านด้วยตนเองและ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำภายหลัง ได้รับคำแนะนำ/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2. เพื่อเป็นการยืนยันผลการคัดกรอง และได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วย และได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
3. เพื่อประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดอดในกลุ่มผู้สงสัยป่วยใหม่ความดันโลหิตสูง
4. เพื่อให้บริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 808
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 127
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมชี้แจงเตรียมความพร้อมแนวทางการดำเนินงาน 2. ให้บริการวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง/โดย อสม.ที่บ้าน ในกลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วยใหม่ความดันโลหิตสูง 3. ส่งต่อข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มผู้สงสัยป่วยใหม่ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมชี้แจงเตรียมความพร้อมแนวทางการดำเนินงาน 2. ให้บริการวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง/โดย อสม.ที่บ้าน ในกลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วยใหม่ความดันโลหิตสูง 3. ส่งต่อข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มผู้สงสัยป่วยใหม่ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เครื่องวัดความดันโลหิตเครื่องละ 2,800 บาท จำนวน 5 เครื่อง  เป็นเงิน 14,000 บาท
  2. เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องละ 850 บาท จำนวน 5 เครื่อง  เป็นเงิน 4,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถวัดความดันโลหิตได้ด้วยตนเองถูกต้อง และสามารถทราบถึงอาการและระดับความดันโลหิตที่ต้องมาก่อนนัด           2. ประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง           3. ผู้มีความเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้รับประเมินส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยโรค และได้รับบริการการรักษาเร็ว ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน           4. ผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับการปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ส่งผลให้อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9930.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,930.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>