กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพและติดตามผู้ป่วยจิตเวชแบบบูรณาการโดยเครือข่าย ปีงบประมาณ 2565 (รพ.สต.บ้านสามแยก)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพและติดตามผู้ป่วยจิตเวชแบบบูรณาการโดยเครือข่าย ปีงบประมาณ 2565 (รพ.สต.บ้านสามแยก)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก

หมู่ที่ 4 ,5,6 และ หมู่ที่ 7 ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคทางจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข นับวันเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ โรคทางจิตเวชก่อให้เกิดความผิดปกติทางด้านความคิด อารมณ์ การรับรู้ และพฤติกรรม จำเป็นต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต การเจ็บป่วยซ้ำถี่มากขึ้น ยิ่งทำให้เกิดความเสื่อมถอยของบุคลิกภาพ ขาดทักษะพื้นฐานในการแก้ปัญหา มีพฤติกรรมก้าวร้าว หลงผิด ประสาทหลอน และพฤติกรรมฆ่าตัวตาย เป็นต้น การมีสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคทางจิตเวช มีผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวเป็นอย่างมาก ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก มีจำนวนผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่เข้ามารับบริการ 28 ราย มีอาการคลุ้มคลั่ง 2-3 ราย จากการทบทวน พบว่า ผู้ป่วยบางรายรับยาไม่ต่อเนื่อง มีอาการกำเริบซ้ำ สาเหตุจากการว่างงาน รู้สึกไร้ค่าเป็นภาระผู้ดูแลดังนั้นทางงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก ได้เห็นความสำคัญโรคจิตเวช จึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพและติดตามผู้ป่วยจิตเวชแบบบูรณาการโดยเครือข่าย เพื่อให้หน่วยงานทุกภาคส่วนตลอดจนประชาชนเห็นความสำคัญเกิดทักษะในการดูแล ติดตาม ฟื้นฟูและเสริมความมีคุณค่าในตัวเองและครอบคร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการ ไม่มีอาการกำเริบซ้ำ

ร้อยละ 70 ผู้ป่วยจิตเวชรับยามาตามนัด อัตราผู้ป่วยจิตเวชคนเดิมที่มีอาการกำเริบซ้ำ ≤ 3 ครั้ง ต่อปี

28.00 1.00
2 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชมากขึ้น

ผู้ดูแลสามารถปฏิบัติตนในการดูแลผู้ป่วย มากขึ้น

102.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 102
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 28
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการประเมิน คัดกรอง สาธิตย้อนกลับ โดยเครือข่ายชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการประเมิน คัดกรอง สาธิตย้อนกลับ โดยเครือข่ายชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 130 คน = 6,500บ.
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ 130 คน = 6,500บ.
3.ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บ. x 6 ชม.=3,600 บ
4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ คนละ 40 บ . x 130 คน=5,200บ.
5ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 * 2.4 เมตร = 1,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเครือข่ายชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อให้เครือข่ายมีทักษะในการประเมิน การคัดกรองเข้าสู่กระบวนการรักษา ติดตาม รักษา ฟื้นฟู สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเอง ประกอบอาชีพตามศักยภาพของผู้ป่วยและยืนอยู่ในสังคมได้


>