กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หัวฝาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนเข้มแข็ง ร่วมแรงร่วมใจ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หัวฝาย

ชมรมคนรักสุขภาพ ตำบลหัวฝาย

นางศรีนวน มากมาย และคณะ

ลานวัฒนธรรม วัดดอนชัยตำบลหัวฝาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์จากสภาพสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสภาพแวดล้อม ทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกายหลายคนอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกาย จึงเป็นเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ตามมาเช่น ความดันโลหิต เบาหวาน, โรคอ้วน โรคมะเร็ง ความเครียด ฯลฯ ทำให้ระบบสุขภาพของคนไทยต้องเน้นการ “สร้าง”มากกว่าการ “ซ่อม” สุขภาพซึ่งเป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุกและการเสริมสร้างสุขภาพเนื่องจากประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษาจึงได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใส่ใจเรื่องการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย 3 อ. เป็นหลักในการสร้างสุขภาพให้กับประชาชนประกอบด้วย การออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย และอารมณ์ ซึ่งให้เริ่มจากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายเป็นเรื่องแรกและบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆที่จำเป็นในการสร้างสุขภาพของบุคคลครอบครัวและชุมชน ให้ภาครัฐสนับสนุนองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของประชาชนที่จะร่วมใจกันแก้ปัญหาสุขภาพของตนเองและชุมชนโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการออกกำลังกายแบบต่างๆ เช่น การเดินวิ่ง การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค เป็นต้น การเต้นแอโรบิคเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตอีกทั้งยังทำให้ประชาชนได้เล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค
ตามประกาศคณะอนุกรรมการการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่องการจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่พ.ศ.2557 โดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ2ของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557ประเภทที่ 2 เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ได้ดำเนินการโครงการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคให้แก่ประชาชนในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

จำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในตำบลหัวฝายลดลง

0.00 0.00
2 เพื่อสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน

การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มในชุมชน

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการจัดทำโครงการ ไม่ใช้งบประมาณ 2.จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อของบประมาณ ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 3 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ผลสรุปกำหนดการดำเนินงานโครงการฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
2.ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยการติดป้ายประชาสัมพันธ์ และประกาศเสียงตามสาย
งบประมาณ
1.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 1x3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 300 บาท 2.ค่าวัสดุประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 2,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ของจำนวนสมาชิกชมรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 3 3.การออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
3.การออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกกำลังกายทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.30-17.30 น. เป็นระยะเวลา 90 วัน งบประมาณ ค่าตอบแทนวิทยากรในการนำออกกำลังกาย วันละ 300 บาท/ชั่วโมง จำนวน 90 วัน เป็นเงิน 27,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
2.ผู้ร่วมกิจกรรมมีความสามัคคีกัน


>