กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง รหัส กปท. L2532

อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการอบรมป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อ ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และเด็ก
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
อบต.มาโมง
3.
หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เกิดในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นเหตุให้รัฐบาลไทยต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในหลายพื้นที่ โดยวางมาตรการที่พึงปฏิบัติสำหรับบุคคลบางประเภท เช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคประจำตัว 8 โรคหญิงตั้งครรภ์และเด็กเล็ก เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ง่าย อยู่ในเคหะสถานหรือบริเวณสถานที่พักของตนเองเพื่อป้องกันตนเองจากสภาพแวดล้อมภายนอกและสถานการณ์การแพร่ระบาดในตอนนี้ โดยปัจจุบันโควิดสายพันธุ์ โอมิครอน จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในการระบาดตอนนี้ ซึ่งมีการระบาดอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว หญิงตั้งครรภ์เป็น 1 ใน 6 กลุ่มเปราะบาง เนื่องจากมีความเสี่ยงของโรคที่รุนแรงกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า และต้องระวังเป็นอย่างมากโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในไตรมาสที่ 3 (นับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 29-42) ในสถานการณ์ที่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการกลายพันธุ์ ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อมีอาการรุนแรงและเกิดภาวะปอดอักเสบได้ง่าย ในกรณีของหญิงตั้งครรภ์เมื่อมีอาการปอดอักเสบ จะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนจากแม่ไม่เพียงพอ ผลที่ตามมาคือเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ในหญิงตั้งครรภ์ จึงเป็นความท้าทายของแพทย์ที่ต้องรักษาทั้งแม่และทารกในครรภ์ไปพร้อมกัน ซึ่งมีความซับซ้อนกว่าการรักษาในบุคคลทั่วไป ทั้งในเรื่องของข้อจำกัดในการให้ยาบางชนิด ที่ต้องคำนึงถึงอายุครรภ์และทารก การไม่สามารถนอนคว่ำเพื่อให้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นได้ เพิ่มโอกาสที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจโดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าเมื่อหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด มีอัตราการเสียชีวิต 1.85% สูงกว่าคนทั่วไปถึง 2.5 เท่า และกว่าครึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ยังไม่ได้คลอดบุตร และยังมียอดการติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ในกลุ่มของหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างน่าเป็นห่วง และมีแนวโน้มอัตราการเสียชีวิตของมารดาจะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยลดความรุนแรงและการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ได้ ในสถานการณ์การระบาดของโรค โควิด-19 ที่ผ่านมา พบเด็กที่ติดเชื้อ SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรค โควิด-19 ประมาณร้อยละ 13 ของผู้ป่วยทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการเลย และพบน้อยมากที่เด็กติดเชื้อแล้วมีอาการรุนแรงและต้องรับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตหรือใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่อย่างไรก็ตาม เด็กก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ หากผู้ป่วยเด็กคนนั้นมีภาวะอ้วน เป็นโรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก หรือภาวะผิดปกติทางระบบประสาท ส่วนในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ หากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะมีอาการมากกว่าเด็กโต เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายยังพัฒนาได้ไม่ดีพอและช่องทางเดินหายใจยังมีขนาดเล็ก มีลักษณะเหมือนเด็กที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะมีปัญหาของระบบทางเดินหายใจ ส่วนเด็กที่ได้รับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงก็จะป้องกันได้เฉพาะเชื้อที่ฉีดวัคซีนป้องกันไปเท่านั้น จากข้อมูลสถานการณ์โควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด 6 สัปดาห์ และทารกแรกเกิด ของกรมอนามัยพบว่า ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. - 11 ก.ย. 2564 มีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) สูงถึง 3,668 ราย ในจำนวนนี้ได้รับวัคซีนเพียง 85 ราย เสียชีวิต 82 ราย และมีทารกติดเชื้อ 180 ราย เสียชีวิต 37 ราย จากสถานการณ์ดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลมาโมง เป็นหน่วยงานมีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (3) และมีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัย ครอบครัว และการรักษาพยาบาล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 16 (19)
-2-

ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และเด็ก ให้มีการดูแลตนเองให้ปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลมาโมง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และเด็ก
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองของเด็ก มีความรู้ในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างถูกต้อง
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองของเด็ก มีความรู้ในการดูแลตนเองในขณะที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างถูกต้อง
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอด หลังคลอดและเด็กให้ปลอดภัยจากโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การปฏิบัติตัวและการดูแลตนเองเมื่อพบว่าเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) , การให้นมบุตรขณะเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 30,950.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลมาโมง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 30,950.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และเด็กมีแนวโน้มลดลง
  2. หญิงตั้งครรภ์ และผู้ปกครองของเด็ก มีความรู้ในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ได้อย่างถูกต้อง
  3. หญิงตั้งครรภ์ และผู้ปกครองของเด็ก มีความรู้ในการดูแลตนเองในขณะที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ได้อย่างถูกต้อง
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง รหัส กปท. L2532

อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง รหัส กปท. L2532

อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 30,950.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................