กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

สอน.ไอปาโจ

หมู่ที่ 4 ตำบลมาโมง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 ในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านไอตีมุง ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 58 ราย ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ ป้องกันตนเองจากโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)มาตการการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19 ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่มีคนพลุกล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮออล์เจล สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการ การไม่นำเอามือมาป้ายหรือ จับหน้า ความรู้และเข้าใจการดำเนินไปของโรคได้อย่างเหมาะสม
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ไอปาโจ รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ หมู่ 4 บ้านไอตีมุง

 

0.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมแกนนำ อสม.และแกนนำชุมชน จำนวน 30 คน หลักสูตร หนึ่งวัน เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์โรค การป้องกันโรค การคัดกรองโรค

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมแกนนำ อสม.และแกนนำชุมชน จำนวน 30 คน หลักสูตร หนึ่งวัน เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์โรค การป้องกันโรค การคัดกรองโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนนำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้เรื่องสถานการณ์โรค การป้องกันโรค และการคัดกรองโรค 2.เกิดแผนการลงเคาะประตูบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5150.00

กิจกรรมที่ 2 ลงเคาะประตูบ้านเพื่อคัดกรองและความรู้กับประชาชน รายละเอียดกิจกรรมแบ่งสายลงพื้นที่ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ และคัดกรองประชาชน

ชื่อกิจกรรม
ลงเคาะประตูบ้านเพื่อคัดกรองและความรู้กับประชาชน รายละเอียดกิจกรรมแบ่งสายลงพื้นที่ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ และคัดกรองประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำลงแนะนำความรู้แก่ประชาชน ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19500.00

กิจกรรมที่ 3 แนวทางการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
แนวทางการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
2. ประชาชนในพื้นที่ ม.4 ต.มาโมง อ.สุคิริน มีการป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>