กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ชมรมนักวิ่งสนามกลาง

1. นางสุชาดา รักเมือง ประธานชมรมนักวิ่งสนามกลาง โทรศัพท์ 08-1478-5027
2.นายสันติ สุคะนุกมัง รองประธานชมรม โทรศัพท์ ๐๘-6292-1631
3.นายอุดม หลวงพนัง เลขานุการ โทรศัพท์ ๐๘4-691-1504
4.นางสาวมลิวรรณวัดจัง เหรัญญิก โทรศัพท์ 087-479-1791
5.นางสาวเนตรดาวสู้ณรงค์ ประชาสัมพันธ์โทรศัพท์ 084-226-0545

สนามกีฬากลางจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

53.34
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

66.67
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

75.00

ปัจจุบันสังคมของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไปจากอดีต ดังจะเห็นได้จากบริบทการทำงาน เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป มีการแข่งขันทั้งทางด้านข่าวสารสารสนเทศและเทคโนโลยี ทำให้วิถีชีวิตของคนในสังคมต้องเร่งรีบและแข่งขันตามกลไกเศรษฐกิจ แต่ในความเจริญนั้นก่อให้เกิดปัญหาต่างๆเกิดขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ ปัญหาเศรษฐกิจ และอื่น ๆ โดยที่ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรมนุษย์นั้นไม่ยั่งยืนและพัฒนาขึ้น เพราะร่างกายมนุษย์เสื่อมลงตามกาลเวลา ประกอบกับมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น แต่เวลาในการดูแลสุขภาพของตนเองกลับน้อยลง เกิดปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนหันไปพึ่งพาสินค้าที่จะทำให้สุขภาพดีจากสื่อต่างๆ เช่น ยาลดความอ้วน น้ำสมุนไพรต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นและมีราคาแพง ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพด้วยวิธีง่ายๆและได้ผลจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดีนัก ซึ่งการเดินเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายและสะดวก เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย ร่างกายได้รับแรงกระแทกจากการเดินน้อยมาก การเดินส่งผลดีต่อสุขภาพ ประโยชน์ของการวิ่งเหมือนกับการเดิน ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพกาย หัวใจ กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดความเครียด และยังมีผลป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ การวิ่งที่ดีต้องมีการฝึกฝน การวิ่งจะเผาผลาญพลังงานมากกว่าการเดิน ประโยชน์ของการวิ่งเหมือนกับการเดินออกกำลังกายแต่ข้อดีของการออกกำลังกายโดยการวิ่งคือใช้เวลาน้อยกว่าและมีผลดีต่อหัวใจมากกว่าการเดิน ข้อเสียของการวิ่งเมื่อเทียบกับการเดินคือมีอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อได้บ่อยกว่าการเดิน แต่ถ้าหากผู้ที่ออกกำลังกายโดยการเดิน-วิ่ง รู้วิธีการออกกำลังกายโดยการเดิน-วิ่งที่ถูกวิธี รู้วิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายแล้วนอกจากจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจแล้วก็จะทำให้บุคคลนั้น ๆ มีสมรรถภาพร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตดี ห่างไกลโรคเรื้อรัง
ชมรมนักวิ่งสนามกลางจึงได้จัดทำโครงการเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคและลดความรุนแรงของโรคให้กับผู้ที่สนใจการออกกำลังกายแบบเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ ให้มีการดูแลสุขภาพของตนเองที่ดียิ่งขึ้น เป็นการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ที่สามารถลดภาวะเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง และเพื่อเชิญชวนให้ประชาชนในตำบลคลองขุดมาร่วมกิจกรรมออกกำลังกายโดยการเดิน-วิ่งเพิ่มขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีของคนเข้าร่วมกิจกรรม และมีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เห็นพัฒนาการของความแข็งแรงของสมรรถภาพทางด้านร่างกายด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

53.34 86.67
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

66.67 93.34
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

75.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 15
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายด้วยการเดิน-วิ่ง ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายโดยการเดิน-วิ่งที่ถูกวิธีและเหมาะสมกับวัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายด้วยการเดิน-วิ่ง ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายโดยการเดิน-วิ่งที่ถูกวิธีและเหมาะสมกับวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรมตามโครงการและประเมินสมรรถภาพทางด้านร่างกายของผู้เข้าร่วมโครงการ 2.อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายด้วยการเดิน-วิ่ง ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายโดยการเดิน-วิ่งที่ถูกวิธีและเหมาะสมกับวัย จำนวน 6 ครั้ง ๆ ละ 2 ชั่วโมง เวลา 17.30-19.30 น.
3.จัดให้มีการออกกำลังกายโดยการเดิน-วิ่งต่อเนื่องทุกวัน    เวลา  17.00 น  - 19.00  น.
4.ประเมินผล การประเมินผล            ๑.นับจำนวนสถิติการมาเข้าร่วมออกกำลังกายของประชาชนในแต่ละวัน ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมออกกำลังกายมีการออกกำลังกายทุกวันหรืออย่างน้อย 3 วัน / สัปดาห์            ๒.ประเมินดัชนีมวลกายและรอบเอวจากแบบบันทึกรายประจำเดือน            3.ประเมินสมรรถภาพทางด้านร่างกาย เดือนละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต กลุ่มเป้าหมายมีกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน อย่างน้อยร้อยละ 90 ของสมาชิกชมรม
ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน) มีความตระหนักถึงการออกกำลังกาย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อลดสภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย
2. กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองโดยการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ห่างไกลโรคเรื้อรัง และสามารถฟื้นฟูร่างกายหลังจากออกกำลังกายได้ถูกต้อง ส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36220.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,220.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลผลิต
กลุ่มเป้าหมายมีกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน อย่างน้อยร้อยละ 90 ของสมาชิกชมรม
ผลลัพธ์
1.กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน) มีความตระหนักถึงการออกกำลังกาย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อลดสภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย
2. กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองโดยการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ห่างไกลโรคเรื้อรัง และสามารถฟื้นฟูร่างกายหลังจากออกกำลังกายได้ถูกต้อง ส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง


>