กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ประจำปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

เทศบาลตำบลบ้านนา

1. นายเนติกรณ์ชูเจริญ
นายกเทศมนตรีตำบลบ้านนา

2. นายสุทินสุขแสง
รองนายกเทศมนตรีตำบลบ้านนา

3. นายมนพพรเขมะวนิช
ปลัดเทศบาลตำบลบ้านนา

4. นางสาวอรวรรณจันทรธนู
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานสาธารณสุข

5. นางสาวอุสนาหนูหนุด
พนักงานจ้างเทศบาล

ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของเกษตรกร(คน)ที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

เกษตรกรที่มีผลการตรวจสารเคีมตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและระดับไม่ปลอดภัย จำนวน 40 คน

40.00
2 จำนวน(คน)ผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

ผู้บริโภคที่มีผลการตรวจสารเคีมตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและระดับไม่ปลอดภัย จำนวน 40 คน

40.00

ประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านนา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรมม โดยมีพื้นที่ในการเกษตรประกอบไปด้วย สานยางพารา พืชล้มลุก ปลูกผักและพืชทางการเกษตรอีกหลายชนิด จึงอาจเกิดผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชได้ และจากผลการตรวจสุขภาพประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา จำนวน 12 หมู่บ้านๆ ละ 50 คน พบว่ากลุ่มประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประชาชนทั่วไปที่นิยมซื้อผักผลไม้บริโภค มีผลตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ในระดับเสี่ยงและระดับไม่ปลอดภัย จำนวนมากกว่า 17 ราย หรือคิดเป็นอัตราเสี่ยง 1:2 ของประชากรที่เข้ารับการตรวจสุขภาพทั้งหมด

เทศบาลตำบลบ้านนาได้รับรายงานผลการตรวจสุขภาพและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชากรในพื้นที่ พบว่าประชากรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดส่วนใหญ่ขาดองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเกษตรผู้ผลิตและผู้บริโภค ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาเกษตรกรมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

40.00 20.00
2 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

40.00 20.00

1. เพื่อให้เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค มีความรู้ในเรื่องความปลอดภัยจากการใช้สารเคมี
2. เพื่อให้เกษตรกรที่มีระดับสารเคมีในกระแสเลือดระดับเสี่ยงและระดับไม่ปลอดภัย ลดลงร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันสารเคมีตกค้างในเลือด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันสารเคมีตกค้างในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการ การให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 40 คน

งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
4. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 400 บาท
รวมเป็นเงิน 9,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2565 ถึง 20 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ได้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน

ผลลัพธ์
1. กลุ่มเป้าหมายได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันสารเคมีตกค้างในเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ของเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค จำนวน 40 คน คนละ 2 ครั้ง (3 เดือนครั้ง)

งบประมาณ
1. ค่าจ้างตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 40 คนๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2565 ถึง 20 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค จำนวน 40 คน ได้รับการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด

ผลลัพธ์
1. เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคที่เสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคได้ดีขึ้น
2. เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคทที่มีสารเคมีตกค้างในเลือดระดับเสี่ยงและระดับไม่ปลอดภัยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถทำการเกษตรและบริโภคผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้อย่างปลอดภัย
2. เกษตรและผู้บริโภคที่เสี่ยงสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคได้ดีขึ้น ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการ
3. เกษตรกรและผู้บริโภคผู้ที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดได้รับการรักษาที่ถูกต้อง


>