กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างพัฒนาการและภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0 – 6 ปี ปี 2565 รพ.สต.บ้านกูบู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู

1.นางน้ำฝน พรหมน้อย
2.นางอุทัยพร นาวี
3.นางสาวรอฮานา ยูโซ๊ะ
4.นางสาวสาวิตรี แซ่คู่
5.นางสาวหนึ่งฤทัย นอหะมะ

ม.5,ม.6,ม.7,ม.8,ม.10

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯโดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีนภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง
จากการประเมินการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-6 ปี ไตรมาศที่ 4 พ.ศ. 2564 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-6 ปี ในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวนทั้งหมด 397 คน พบเด็กที่มีภาวะโภชนาการน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 6.29 มีการดำเนินกิจกรรมโครงการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่ก็ยังพบว่าเป็นปัญหาอยู่ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ยังพบพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทกรุบกรอบมากขึ้น รับประทานอาหารไม่ครบมื้อหลัก ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน 5 หมู่ ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจ รวมไปถึงการขาดความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาศึกษา ขาดการใส่ใจดูแลเท่าที่ควรของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก เป็นผลให้เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ภาวะโภชนาการไม่สมส่วน ประกอบกับ ปี 2564 ยังพบเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม (LBW : Low birth weight) จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.88 (ลดลงจากปี 2563 ที่พบจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10.87) ซึ่งอาจส่งผลต่อการภาวะโภชนาการและพัฒนาการในอนาคตต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม (คผ) และภาวะโภชนาการผอมในเด็กอายุ 0-6 ปี

เด็กอายุ 0-6 ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม (คผ.) และภาวะโภชนาการผอมลดลงจากปี 2564 อย่างน้อยร้อยละ 50

0.00
2 เพื่อเสริมสร้างความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการดูแลภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-6 ปี

เด็กอายุ 0-6 ปี มีประวัติภาวะโภชนาการสมส่วน มากกว่าร้อยละ 70

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่มีประวัติน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม (LBW:Low birth weight) ในด้านโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการ

พ่อ/แม่/ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กที่มีประวัติน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม (LBW : Low birth weight) สามารถประเมินพัฒนาการในช่วงที่เด็กอายุ 9 เดือน และ 18 เดือน ตามเกณฑ์มาตรฐาน DSPM ด้วยตัวเองได้ ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในกลุ่มพ่อ/แม่/ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-6 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในกลุ่มพ่อ/แม่/ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-6 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง จำนวน 25 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 625.-บาท -ค่าอาหารเสริม(นม)จำนวน 25 คน X39 บาท (1 แพค มี 4 กล่อง) X 60 วันเป็นเงิน 58,500.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อัตราภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี ลดลง
  2. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ เข้าใจในเรื่องโภชนาการและสามารถส่งเสริมโภชนาการให้บุตรได้ถูกต้อง
  3. เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการส่งพบแพทย์ทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
59125.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 59,125.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี ลดลง
2. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ เข้าใจในเรื่องโภชนาการและสามารถส่งเสริมโภชนาการให้บุตรได้ถูกต้อง
3. เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการส่งพบแพทย์ทุกคน


>