กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงสูง ปี ๒๕๖๕

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลาเส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงสูง ปี ๒๕๖๕

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลาเส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนและมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขเป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำไปสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม ในกลุ่มประชากรทีมีภาวะเสี่ยงสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอาจพัฒนาเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทำให้เป็นภาระต่อเศรษฐกิจ สังคม และครอบครัว ที่ต้องทำหน้าที่ดูแลส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ก็คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดา มีภาวะความดันโลหิตสูงก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่บิดา มารดามีภาวะความดันโลหิตปกติส่วนในเรื่องปัจจัยแวดล้อม เช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูบบุหรี่จัด ดื่มสุราจัด มีระดับไขมันในเลือดสูงและมีความเครียดก็มีผลทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงเช่นกันและโรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังอันตรายที่มักพบร่วมกันกับโรคความดันโลหิตสูง และมักจะค่อยสูงขึ้นและร่างกายก็ค่อยๆปรับตัวให้เข้ากับภาวะความดันโลหิตที่สูงขึ้น ส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการใดๆดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ค่อยทราบหากไม่ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตหรือตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้ และส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อ หัวใจ ไต ตา และสมอง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิต
จากการตรวจคัดกรองโรคในประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ จำนวน ๒,๕๔๔ ราย สามารถคัดกรองโรคเบาหวานครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ ๘๙.๑๙ ของประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ตามลำดับ และคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงได้ครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ ๘๗.๖๑ ของประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง ที่มีค่าระดับความดันโลหิต ≥๑๔๐/๙๐ คิดเป็นร้อยละ ๗.๒๓ และกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) >๑๐๐mg/dl คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๗๔
ดังนั้นด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส จึงมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ จึงได้เล็งเห็นผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีค่าผลเลือดและค่าระดับความดันโลหิตเกินเกณฑ์เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อได้มีการ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงสูง ปี ๒๕๖๕

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๒.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตลดลง

๑.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการแก่กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วน ตำบลกะลาเส ๒. ประสานวิทยากรและจัดเตรียมอุปกรณ์และเอกสารในการดำเนินการ ๓.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กิจกรรมที่ ๓.๑. ตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต                        เจาะเลือดปลายนิ้ว(DTX) ก่อนการอบรมความรู้         กิจกรรมที่ ๓.๒.การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง                  และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรค ดังนี้ -ทดสอบความรู้ก่อนอบรม -อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
-อบรมเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโรค -ทดสอบความรู้หลังอบรม ๔.กิจกรรมติดตามการตรวจวัดความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว (DTX) ซ้ำ เป็นเวลา ๓ เดือน
-ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยการเจาะ (DTX) งดน้ำงดอาหาร เดือนละ ๑  ครั้ง  โดยนัดกลุ่มเป้าหมายมาตรวจ DTX เดือนละ ๑ ครั้ง -ตรวจวัดระดับความดันโลหิต โดยนัดกลุ่มเป้าหมายวัดความดันโลหิตสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ๕.กิจกรรมเยี่ยมบ้านเยี่ยมครัวโดยการสุ่มตรวจระดับความหวานและความเค็มในอาหารที่กลุ่มเสี่ยงสูงรับประทาน (เฉพาะกลุ่มที่มีผลระดับค่าน้ำตาลและระดับความดันโลหิตในเลือดไม่ลดลง จากการติดตามตรวจระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตไปแล้ว ๑ เดือน) โดยใช้เครื่องมือตรวจระดับความหวานและความเค็ม    ในอาหาร พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้คำแนะนำที่เหมาะสม ๖.กิจกรรมประชุมสรุปผลการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
-แจ้งผลการติดตามการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิต -แจ้งผลกิจกรรมเยี่ยมบ้านเยี่ยมครัว
-แบ่งกลุ่มย่อยสรุปปัญหาและอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -ร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละกลุ่ม -สรุปผลการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๗.สรุปผลการดำเนินโครงการ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงสูง ปี ๒๕๖๕

ชื่อกิจกรรม
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงสูง ปี ๒๕๖๕
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส ๑๑,๗๗๒ บาท
(หนึ่งหมื่นหนึ่งพันเจ็ดร้อยเจ็ดสิบสองบาทถ้วน) ตามรายละเอียดดังนี้     ๑.กิจกรรมอบรมความรู้    -ค่าอาหารกลางวัน ๑ มื้อ มื้อละ ๕๐ บาท   จำนวน ๕๐ คน                        เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๒ มื้อ มื้อละ ๒๕ บาท จำนวน ๕๐ คน      เป็นเงิน ๒,๕๐๐บาท    -ค่าวิทยากร จำนวน ๑ คน เวลา ๔ ชั่วโมง ชั่วโมงละ ๓๐๐ บาท            เป็นเงิน ๑,๒๐๐บาท          -ค่าคู่มือติดตามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ   จำนวน ๕๐ ชุด ชุดละ ๕๐ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท          -ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลัง อบรม จำนวน ๑๐๐ แผ่น แผ่นละ ๑ บาท (หน้า/หนัง)                                                                                                          เป็นเงิน ๑๐๐ บาท          ๒.กิจกรรมติดตามตรวจวัดความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว
         -ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือดพร้อมเข็มเจาะ จำนวน ๔ กล่อง   กล่องละ ๔๓๐.๕๐ บาท
                                                                                                        เป็นเงิน ๑,๗๒๒ บาท          ๓.กิจกรรมเยี่ยมบ้านเยี่ยมครัว
         -ไม่มี           ๔.กิจกรรมประชุมสรุปผลการติดตาม    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  ๑  มื้อ มื้อละ ๒๕ บาท จำนวน ๕๐ คน  เป็นเงิน  ๑,๒๕๐ บาท

                รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๑๑,๗๗๒ บาท  (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันเจ็ดร้อยเจ็ดสิบสองบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11772.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,772.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีสุขภาพดี และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
๒.ประชาชนหันมาใส่ใจสุขภาพตนเองมากขึ้นเกิดบุคคลต้นแบบ ในการขยายผลสู่เครือข่ายในชุมชน


>