กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กเล็กปลอดเหาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลจะแนะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแนะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลจะแนะ

นางนาอีมะห์เจ๊ะหะ

ตำบลจะแนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเป็นเหาในเด็กนักเรียนนับว่าเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทย เนื่องจากเด็กที่เป็นเหาจะขาดสมาธิในการเรียนและสูญเสียบุคลิกภาพที่ดี พบว่าคนที่เป็นเหาจะมีอาการคันศีรษะอย่างมาก เนื่องจากน้ำลายของตัวเหาที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหนังศีรษะ การเกาหนังศีรษะอย่างมากอาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อเรื้อรังได้ การสำรวจการเป็นเหามุ่งสำรวจไปที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเนื่องจากภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมากจึงมีการติดต่อโดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใกล้ชิดหรือใช้ของร่วมกัน นอกจากนี้เหายังเพิ่มจำนวนและขยายพันธ์อย่างรวดเร็วได้ตลอดปี โอกาสหายจากโรคนี้จึงค่อนข้างยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดโรคซ้ำ การติดเหาพบได้มากในเด็กที่รักษาความสะอาดของศีรษะไม่ดีพอซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองอีกด้วย เนื่องจากการตรวจสุขภาพเบื้องต้นของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลจะแนะพบการติดโรคเหา แต่การตรวจครั้งนี้ไม่ได้มีการเก็บข้อมูลในเชิงสถิติ อย่างเป็นทางการ
ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 (ฉบับที่7) พ.ศ.2562 หมวดที่ 2 ส่วนที่ ๓ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๖๗ (๖) กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ในการส่งเสริมการเมือง สตรี เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลจะแนะดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคเหาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กนักเรียนทั้งหมด (เช่น ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลจะแนะ ทั้งนี้เพื่อนำให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคเหาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป อันจะเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในท้องถิ่น ให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการกำจัดเหาที่ถูกต้อง 2. เพื่อให้ผู้ปกครองได้ความรู้ในการใช้สมุนไพรกำจัดเหา ๓. เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเหาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลจะแนะ
  1. ผู้ปกครองมีความเข้าใจในการกำจัดเหาได้
  2. ผู้ปกครองมีความรู้ในการใช้สมุนไพรกำจัดเหาได้ ๓. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลจะแนะปลอดเหาในเด็กปฐมวัย
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 187
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/04/2022

กำหนดเสร็จ 20/04/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และการสาธิต

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และการสาธิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลจะแนะ เป็นจำนวนเงิน               5๖,๙๔0บาท (ห้าหมื่นหกพันเก้าร้อยสี่สิบบาทถ้วน)โดยมีรายละเอียด  ดังนี้     1. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.0 × 2.5 เมตร จำนวน 1 ผืน              เป็นเงิน     625   บาท     2. ค่าเอกสารประกอบการอบรมจำนวน ๑๘๗ ชุด ๆ ละ ๑๒๕ บาท             เป็นเงิน ๒๓,๓๗๕  บาท         - ค่ากระเป๋าผ้าใบละ ๑00 บาท         - ค่าปากกา        ๑0 บาท         - ค่าสมุดเล่มละ      ๑๕ บาท     3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑๘๗ คนๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ        เป็นเงิน ๑๑,๒๒๐  บาท
4. ค่าอาหารผู้เข้าร่วมอบรม ๑๘๗ คน ๆละ 60 บาท            เป็นเงิน ๑๑,๒๒0  บาท 5. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร  5 ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท จำนวน 3 วัน      เป็นเงิน   ๙,000  บาท ๖. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการสาธิตการกำจัดเหา
    -  ผ้าขนหนู  จำนวน ๑๕ ผืนๆละ ๖๕ บาท            เป็นเงิน     ๙๗๕  บาท -  แชมพูสำหรับเด็ก  จำนวน ๑๕ ขวด ๆละ ๓๕ บาท                           เป็นเงิน     ๕๒๕  บาท
รวมงบประมาณทั้งสิ้น      เป็นเงิน 5๖,๙๔0บาท (ห้าหมื่นหกพันเก้าร้อยสี่สิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 เมษายน 2565 ถึง 20 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองมีความเข้าใจในการกำจัดเหาได้
  2. ผู้ปกครองมีความรู้ในการใช้สมุนไพรกำจัดเหาได้ ๓. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลจะแนะปลอดเหาในเด็กปฐมวัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56940.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,940.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองมีความเข้าใจในการกำจัดเหาได้
2. ผู้ปกครองมีความรู้ในการใช้สมุนไพรกำจัดเหาได้
๓. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลจะแนะปลอดเหาในเด็กปฐมวัย


>