กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาตอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ผู้สูงอายุ จิตแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง ปี 65

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาตอง

1.นางตอยฮีเร๊าะอาแด
2.นางกัลยา อุมา
3.นางรอฆาย๊ะ กูวิง
4.นางคอรีเย๊าะ จินตรา
5.นางมีเน๊าะ ลาบูอาปี
6.นางสามารีย๊ะบาเน็ง
7.นายเจ๊ะวาดี ดือราฮิง
8.นางสาวรอกีเยาะ ปูเตะ
9.นางอูแมกลือซง อาแด
10.นางสาวรอบีย๊ะ อาบูบูแม

ศูนย์ LCT ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

 

80.00
2 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

 

80.00
3 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

80.00
4 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

80.00

เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีความต้องการแตกต่างไปจากวัยอื่น รวมทั้งปัญหาในด้านสุขภาพที่แตกต่างกันร่างกายมีการถดถอยและเสื่อมลงเป็นผลทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆเบียดเบียนสิ่งสำคัญ คือ การได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างซึ่งมีผลต่อสุขภาพกายและใจจากการสำรวจผู้สูงอายุในเขต รพ.สต.บ้านกาตอง และรพ.สต.บ้านปาแดรูในปีงบประมาณ 2564 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 567 คนเป็นผู้สูงอายุในส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพกายเช่นการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ การเจ็บป่วยด้วยอายุมาก อาการป่วยจากโรคข้อเสื่อมและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่เรื่องการออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยง่าย การเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความเศร้าใจ กังวลใจ น้อยใจ เสียใจ และการอยู่ร่วมในสังคมของผู้สูงอายุบุตรหลานมักปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยวขาดความยอมรับและความเชื่อถือ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว ลดลง

80.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน

จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนเพิ่มขึ้น

80.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 200
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียน ความรู้ ความต้องการ ของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียน ความรู้ ความต้องการ ของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแบบ องค์รวมแก่ ผู้สูงอายุ พร้อมตรวจสุขภาพ ร่างกาย และสุขภาพช่องปาก(จัดอบรม2รุ่นๆละ 100คน รวมเป็น 200 คน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 2.ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเอง  และผ่านการตรวจสุขภาพโดยผ่านเกณฑ์ผู้สูงอายุที่พึงประสงค์
3.การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุมีความต่อเนื่องและยั่งยืน 4.ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32700.00

กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ลงติดตามการดูลผู้สูงอายุของ CG ในการเอาใจใส่การปฏิบัติต่อผู้สูงอายุในพื้นที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้สูงอายุได้รับขวัญและกำลังใจในการดูแลตนเอง -CG ได้รับการติดตามและคำแนะนำที่ดีในการดูแลผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 62,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละ70 ผู้สูงอายุ ได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
2.ร้อยละ 70 ผู้สูงอายุ สามารถดูแลตัวเองและผ่านเกณฑ์การประเมินผู้สูงอายุที่พึงประสงค์
3.ร้อยละ 100 การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุมีความต่อเนื่องและยั่งยืน


>