กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากยุงลายเป็นพาหะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเกตรี

1.นางสาวมีณา พรหมาด
2.นางสุไรบ๊ะ หลงหัน
3.นางจีด๊ะ อาดำ
4.นางฮับส๊ะ อาดำ
5.นางรอเบี้ยะ ยะดี

ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดได้แก่กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่5 – 14ปีรองลงมาคือเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2564 วันที่1 มกราคม – 12 ตุลาคม 2564 จาก ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยาพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก สะสม 7,720 ราย อัตราป่วย 11.61 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วยสะสมน้อยกว่าปีที่ผ่านมา นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์อธิบดี กรมควบคุมโรค (คร.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) เป็นประธาน โดยระบุว่า คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบหลักการการวางระบบและแนวทางปฏิบัติในการควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ภายใต้ พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558เนื่องจากปี 2564 โรคติดต่อนำโดยแมลงที่สำคัญ คือ ไข้เลือดออก มีการระบาดค่อนข้างน้อย จึงคาดการณ์ว่าในปี 2565 จะมีการระบาดรุนแรงของโรคไข้เลือดออก เพราะโรคไข้เลือดออกจะระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปีสำหรับตำบลเกตรี พบว่า มีผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยเข้าข่ายโรคไข้เลือดออก จำนวน 24 ราย ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเกตรี จึงตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากยุงลายเป็นพาหะขึ้นเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะ ในทุกกลุ่มอายุรวมถึงสามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงลายพาหะนำโรค และเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน ตื่นกลัวและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้กับประชาชน ในการป้องกันโรคจากยุงลายเป็นพาหะ

ลดอัตราป่วยด้วยโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะในทุกกลุ่มอายุ

0.00
2 เพื่อรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน

สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลาย  และยุงลายพาหะนำโรค

0.00
3 เพื่อการกำจัดยุงพาหะนำโรคให้ทันเวลาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ประชาชน เกิดการตื่นกลัวและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 210
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่ระบาด จำนวน 14 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่ระบาด จำนวน 14 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 25 บาท จำนวน 14 ครั้ง  เป็นเงิน 10,500 บาท
  • ค่าป้ายไดคัดประชาสัมพันธ์พร้อมเสา  จำนวน 8 แผ่นๆละ 360  บาท      เป็นเงิน 2,880 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
9 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13380.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสเปรย์ฉีดกำจัดยุง  จำนวน 50 ขวดๆละ 115 บาท เป็นเงิน 5,750 บาท
  • ค่าโลชั่นทากันยุงจำนวน 50 ขวดๆละ 35 บาท  เป็นเงิน 1,750 บาท
  • ค่าจ้างพ่นเคมี ในสถานศึกษาช่วงปิดภาคเรียนและในพื้นที่สาธารณะ จำนวน 11 แห่ง ๆ ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 400 บาท  จำนวน 2 รอบ เป็นเงิน 17,600 บาท
  • ค่าจ้างพ่นเคมี จำนวน 20 รายๆละ 2 ครั้งๆละ 400 บาท   เป็นเงิน 16,000 บาท
  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (น้ำมันดีเซล,น้ำมันเบนซีน)  เป็นเงิน 10,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
51100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 64,480.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะ ในทุกกลุ่มอายุ
2. สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงลายพาหะนำโรค
3. เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนตื่นกลัวและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะ


>