กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานตามวิถีชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานตามวิถีชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเขต PCU รพ.กะพ้อ

1.นางยุพินสาเมาะ
2.นส.มาสะนะ ลาสะ
3.นส.รอฮานา เต็งมะ
4.นส.ฮาลีเมาะ เด็งโด
5.นส.พารีดะห์รอมีซา

หมู่ 1,2,3,4,7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันแนวโน้มของการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้เพิ่มมากขึ้น จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อุบัติการณ์ของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีและเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆมากขึ้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมในการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป สังคมชนบทเริ่มเป็นสังคมกึ่งเมืองมากขึ้น ส่งผลต่อพฤติกรรมต่างๆ เช่น รับประทานอาหารประเภทกับข้าวสำเร็จรูป อาหารหวานและมันมากขึ้น อาหารรสเค็มจัด และพฤติกรรมการออกกำลังกายน้อยลง
จากสถิติของโรงพยาบาลกะพ้อ มีผู้ป่วยเหล่านี้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี๒๕๖4 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอยู่ในความดูแล 450 คน และ 1,580 คน ตามลำดับ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ม.1 ม.2 ม.3 ม.4และหมู่.7 ตำบลกะรุบี มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอยู่ในความดูแล 141 คน และ 420 คน ตามลำดับ
จากปัญหาดังกล่าว ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเขต PCU โรงพยาบาลกะพ้อ ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี จึงเล็งเห็นความสำคัญและได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ตามวิถีชุมชน โดยการส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีการปลูกพืชผักสมุนไพรอย่างน้อย ครัวเรือนละ 5 ชนิด เช่น หญ้าหวาน แป๊ะตำปึง กระเจี๊ยบ มะระขี้นกบัวบก กระเพรา ใบเตย มัลเบอร์รี่ฯลฯ เพื่อเลือกใช้อาหารเป็นยาในการส่งเสริมรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม
2.เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้อาหารเป็นยาตามหลักศาสนา และปอซอ 2.การออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ 3.ติดตามวัดความดันโลหิตสูง และเจาะน้ำตาลในเลือด ในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้อาหารเป็นยาตามหลักศาสนา และปอซอ 2.การออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ 3.ติดตามวัดความดันโลหิตสูง และเจาะน้ำตาลในเลือด ในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้อาหารเป็นยา ปอซอ
- ค่าไวนิล ขนาด 1 เมตร*2 เมตร = 700บ. - ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม
50บาท x 50 คน x 1 มื้อ x 3 ครั้ง
= 7,500 บ. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บาท X 50 คน x 2 มื้อ x 3 ครั้ง = 7,500 บ. - ค่าพันธุ์พืชสมุนไพร 30บาทx5 ชนิด x50คน เป็นเงิน 7,500 บาท 2.การออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ - ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 25บาท x 100 คน x 1 มื้อ x 6 ครั้ง
= 15,000  บ. 3.ติดตามวัดความดันโลหิตสูงและเจาะน้ำตาลในเลือดในกลุ่มเสี่ยง 3.ติดตามวัดความดันโลหิตสูงและเจาะน้ำตาลในเลือดในกลุ่มเสี่ยง - ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องละ 2,000บาทx 5 เครื่อง =10000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้อาหารเป็นยา และปอซอ 2.เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ระดับดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>