กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

1.นายอุหมาด ล่าดี้ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ เบอร์ติดต่อ 081-5421514
2.นายอาลี ยะฝา ตำแหน่ง รองปลัด อบต.บ้านควน เบอร์ติดต่อ
3.นางสาวเสาวนา หลงจิ ตำแหน่าง นักวิชาการสาธารณสุข เบอร์ติตต่อ 084-8595089
4.นางสาวนัสนา เต๊ะหมัน ตำแหน่ง ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข เบอร์ติดต่อ 094-4623581
5.นางไรหนับ ยังสมัน ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไป เบอร์ติดต่อ 086-2974978

ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. -1 ก.ย. 64 พบผู้ป่วย 6,485 ราย เสียชีวิต 6 ราย กลุ่มอายุพบมากที่สุดคือ อายุ 5-14 ปี รองลงมา อายุ 15-24 ปี โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่สำคัญ ได้แก่ ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า รวมถึงมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือ ยุงลายลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามที่อยู่อาศํย ในสวนยางพาราขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่นโอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ยางรถยนต์เก่า หรือวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล 4 ปีที่ผ่านมาในตำบลบ้านควนมีผู้ป่วยไข้เลือดออก ดังนี้ คือปี พ.ศ 2561 จำนวน 87 ราย พ.ศ.2562 จำนวน 34 ราย พ.ศ.2563 จำนวน 30 ราย พ.ศ.2564 จำนวน 1 ราย ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายลุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยของประชาชนจากโรคไข้เลือดออก และไข้ปวดข้อยุงลาย

ประชาชนมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และไข้ปวดข้อยุงลายลดลง

266.00 80.00
2 เพื่อลดค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออกในสถานศึกษา

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในสถานศึกษาน้อยกว่าหรือเท่าร้อยละ 5

2.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 11,257
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพทีม SRRT ตำบลบ้านควน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพทีม SRRT ตำบลบ้านควน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ทีมพ่นสารเคมีเพื่อพัฒนาศักยภาพการลงพื้นที่ควบคุมโรค การบำรุงรักษาเครื่องมือ ประกอบด้วย อาสาสมัครพ่นสารเคมี จำนวน 14 คน เจ้าหน้าจาก รพ.สต.บ้านควน จำนวน 5 คน เจ้าหน้ากองสาธารณสุข จำนวน 4 คนสมาชิกกลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควนจำนวน 12 คน รายละเอียดงบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 35 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,750 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 35 คนๆละ 75 บาท เป็นเงิน 2,625 บาท
3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
4.ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2 X 2.3เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 540 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทีมพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่มีความรู้ในการพ่นสารเคมีให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8515.00

กิจกรรมที่ 2 ป้องกันและระงับโรคติดต่อนำโดยยุงลายอย่างเร่งด่วน (บ้านผู้ป่วย)

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันและระงับโรคติดต่อนำโดยยุงลายอย่างเร่งด่วน (บ้านผู้ป่วย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาสารเคมีเพื่อป้องกันและควบโรคติดต่อนำโดยยุงลาย เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยมอบให้ รพ.สต.ทั้งสองแห่งเพื่อกระจายสารเคมีเพื่อควบคุมโรคให้ทั่วถึง
1.จัดซื้อโลชั่นทากันยุง จำนวน 250 ซองๆละ 8 บาท เป็นเงิน 2,000.00 บาท
2.จัดซื้อสเปรย์พ่นกำจัดยุงตัวแก่ ขนาด 300 มล. จำนวน 60 กระป๋องๆละ 83.00 บาท เป็นเงิน 4,980.00 บาท
3.ทรายอะเบท ป้องกันลูกน้ำยุงลาย (อสม.เดินรณรงค์ใส่ทรายอะเบทในพื้นที่รับผิดชอบ 7 หมู่บ้าน 2,835 ครัวเรือน) จำนวน 4 ถังๆละ 3,500.00 บาท เป็นเงิน 14,000.00 บาท
4.สารเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่ (d-tetramethrin+Cyphenothrin) จำนวน 2 ขวดๆละ 2,200 บาท เป็นเงิน 4,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านควนได้รับการป้องกันและระงับโรคติดต่อโดยยุงลายอย่างรวดเร็ว สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเป็นวงกว้างได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25380.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,895.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถลดอัตราป่วยของประชาชนจากไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายได้
2.สามารถลดค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายได้


>