กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ “ชุมชนลากอร่วมใจ ต้านภัยโรคเรื้อรัง ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ

1.นางตอยยีบะห์ ลำเดาะ
2.นางกามารีเยาะ เปาะเซ็ง
3.นางอานีซ๊ะ บูงอแคะบอง
4.นางฮามีด๊ะ ลือแบลูวง
5.นางอามีเน๊าะ ทากือแน

หมู่ที่ 4.5,7,8 ตำบลยะหาอำเภอยะหาจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

11.88
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

12.99
3 ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวาน

 

1.85
4 ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคความดันโลหิตสูง

 

4.48
5 ผู้ป่วยรายใหม่โรคเบาหวาน

 

22.00
6 ผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง

 

36.00
7 อาสาสมัครสาธารณสุขขาดตวามรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2ส เพื่อปฏืบัติงานในชุมชน

 

65.00

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทย คือโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอด ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอแม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง ส่งผลต่อการเกิดโรคเหล่านี้ได้ การสร้างเสริมสุขภาพช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ
สถิติการเจ็บป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ ตำบลยะหา อำเภอยะหาจังหวัดยะลาพบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม จะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก 3อ2ส เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม
จากข้อมูลการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอปี 2565 พบกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวาน จำนวน 160 ราย และ 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.88 และ 1.85ผู้ป่วยรายใหม่22 ราย พบกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 148 ราย และ 51 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.99 และ 4.48ตามลำดับ ผู้ป่วยรายใหม่36ราย มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกๆปี ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของ ประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 3อ 2ส ตามวิถีชุมชน เพื่อการมีสุขภาพดีโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3 อ. 2 ส.และสามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง

1.ร้อยละ 100 ของอาสาสมัครสาธารณสุขเข้าร่วมกิจกรร,

65.00 65.00
2 2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคร่วมกันของคนในชุมชน

1 ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  3 อ. 2ส. 2. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  3 อ. 2ส.

0.00
3 3. เพื่อให้กลุ่ม สงสัยป่วยต่อการเกิดโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/โรคหัวใจ และหลอดเลือด เข้าถึงบริการวัดคัดกรอง วินิจฉัย ขึ้นทะเบียน และ รักษาอย่างต่อเนื่อง
  1. ร้อยละ90 การตรวจติดตามกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน
  2. ร้อยละ90 การตรวจติดตามกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1. กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 4.5,7,8 148
2 กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 4.5,7,8 51
3. กลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวาน หมู่ที่ 4.5,7,8 160
4.กลุ่มสงสัยป่วยต่อเบาหวาน หมู่ที่ 4.5,7,8 25
5. อาสาสมัครสาธารณสุข 65

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ เน้นกระบวนการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ เน้นกระบวนการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดประชุมชี้แจงโครงการฯคณะทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 65 คน โดยมีการประชุมกำหนดเนื้อหา พัฒนาองค์ความรู้แบบเข้มข้น เรื่อง ๓ อ ๒ ส และ การฝึกทบทวนการตรวจสุขภาพ การชั่งน้ำหนัก การวัดความดันโลหิต วัดรอบเอว การตรวจน้ำตาลในเลือด และการรอบรู้ด้านสุขภาพ การเลือกและข้อมูลทางโภชนาการ และมาตรการการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคโควิด -19
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 65คน x 25 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 1,625บาท
  • ค่าปายไวนิลชื่อโครงการ ขนาด 1x3 เมตร เป็นเงิน 800บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 100 ของอาสาสมัครสาธารณสุขเข้าร่วมกิจกรรม 2.อาสาสมัครทุกคนเกิดความมั้นใจในการปฏิบัติงานปรับเปลี่ยนหฤติกรรม 3อ.2ส และสาสมารถฝึกทบทวนในการตรวจสุขภาพได้เป็นอย่างดีผ่านทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2425.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 . จัดกิจกรรมแบ่งโซนจัดทำฐานการเรียนรู้ และฟื้นฟูกลุ่มเพื่อนเตือนเพื่อน พันธะสัญญาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 . จัดกิจกรรมแบ่งโซนจัดทำฐานการเรียนรู้ และฟื้นฟูกลุ่มเพื่อนเตือนเพื่อน พันธะสัญญาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

  จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหนุนเสริมทักษะชีวิต ความรอบรู้ด้านสุขภาพ  โดยใช้หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค ๓ อ ๒ ส ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยจัดทำเป็นฐานการเรียนรุ้ จำนวน 4 ฐาน ประกอบด้วย ฐาน 1 รู้ตน ฐานที่ 2 อาหารต้านโรค  ฐานที่ 3  ออกกำลังกายพิชิตพุง  ฐานที่ 4 เทคนิคการนวดคลายเครียด   (จัดทำ 2 รุ่น)                 - ค่าอาหารกลางวัน 250 คน x 50 บาท x 1 มื้อ                           เป็นเงิน 12,500  บาท            - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 250  คน x 25 บาท x 2 มื้อ                เป็นเงิน 12,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและตวามดันโลหืตสูงเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  3 อ. 2ส
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่3 ติดตามชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงหลังจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมทักษะชีวิต ในเรื่อง 3อ.2ส.ไป 1 เดือน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขพร้อมจัดซื้ออุปกรณ์การตรวจติดตามสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่3 ติดตามชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงหลังจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมทักษะชีวิต ในเรื่อง 3อ.2ส.ไป 1 เดือน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขพร้อมจัดซื้ออุปกรณ์การตรวจติดตามสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

  จัดหาเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติดิจิตอลแบบพกพา เพื่อสนับสนุนการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านของกลุ่มเสี่ยงสงสัยป่วยและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีความจำเป็นตามลำดับก่อนหลัง
              -   ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติดิจิตอลแบบพกพา จำนวน 4 เครื่อง ราคาเครื่องละ
                           1500 บาท                                                                      เป็นเงิน  6,000 บาท   เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล             - ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 4  เครื่อง ราคาเครื่องละ 800 บาท             เป็นเงิน 3,200 บาท
  สายวัดรอบเอว             - สายวัดรอบเอว BMI (ดัชนีมวลกาย) จำนวน 65 อัน  ราคาอันละ 20 บาท          เป็นเงิน  1,300  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จัดซื้ออุปกรณ์การตรวจติดตามสุขภาพครบตามเป้าหมาย 2.อาสาสมัครสาธารณสุขมีอุปกรณ์ตรวจสุขภาพเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,925.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3 อ.2 ส.และสามารถ
นำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง อย่างน้อยร้อยละ 80
2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคร่วมกัน
2 จำนวนผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงลดลง จากปีก่อน


>