กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชน บ้านคชศิลา รู้ทัน ป้องกันโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

กลุ่มศิลานารี

นางวิลัยพร จำรูญศรี

สนามฟุตซอล ม.4 บ้านคชศิลา ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (2019) หรือ โควิด-19 รวมถึงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงของคนในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและชาวบ้านในชนบทที่ไม่มีความรู้ในการดูแลตนเอง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางสาธารณะสุขและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง กระทบต่อสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมความเป็นอยู่ของประเทศโดยทั่วไป
จากการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนในพื้นที่หมู่4 บ้านคชศิลา ปัญหาที่พบมากคือการละเลยการดูแลเอาใจใส่ต่อสุขภาพ ความเชื่อผิดๆ การปฏิเสธการรับวัคซีน การขาดความร่วมมือ ในพื้นที่ ม.4 บ้านคชศิลา ต.บาละ อ.กาบัง จ.ยะลา มีจำนวนครัวเรือน 180 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็นชายจำนวนทั้งสิ้น 268 คน หญิง 247 คน รวมทั้งสิ้น 515 คน
ด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้ ทางกลุ่มศิลานารีจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชน บ้านคชศิลา รู้ทัน ป้องกันโรค ได้เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันตนเองและครอบครัว นำความรู้ที่ได้จากการเข้ารับการอบรมไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวีตแลดำรงตนให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข พร้อมทั้งมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจที่แข็งแรงตลอดไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) กับสายพันธุ์ใหม่ (โอมิครอน)
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมีทัศนคติที่ดีและได้ตระหนักถึงการป้องกันตนเองและคนในครอบครัว โดยให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
4. เพื่อสนับสนุนให้กลุ่ม 608 ได้ตระหนักในการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
5. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่ม อายุ 5- 11 ปี ได้รับวัคซีนครบ 100 %

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 35
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวิทยากร 5 ชม.ๆละ 300  = 1,500 บาท 2.ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ x 25 บาท x 50 คน = 2,500 บาท 3.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ x 60 บาท x 50 คน      = 3,000 บาท 4.ป้ายไวนิล 1 ป้าย =   720  บาท รวม 7,720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีความรู้และปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
    1. การเตรียมความพร้อมเพื่อเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างเป็นระบบ  ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7720.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การวิเคราะห์สุขภาพชุมชน/เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การวิเคราะห์สุขภาพชุมชน/เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อาหารว่าง 2 มื้อ x 25 บาท x 50 คน      = 2,500 บาท 2.อาหารกลางวัน 1 มื้อ x 60 บาท x 50 คน = 3,000 บาท 3.ค่าวิทยากรกลุ่ม 5 กลุ่ม x 5 ชม.ๆละ 300 = 1,500 บาท 4.ค่าเจลล้างมือ 2 ขวด x ขวดละ 50 =    100 บาท กระดาษฟาง 1 โหล 35 บาทปากกาเคมี 1 โหล  130 บาทแบบประเมิน 50x2 ใบ  100 บาท
รวม = 7,365 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีความรู้และปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
    1. การเตรียมความพร้อมเพื่อเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างเป็นระบบ  ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7365.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,085.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีความรู้และปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
2. การเตรียมความพร้อมเพื่อเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างเป็นระบบชัดเจน และมีประสิทธิภาพ


>