กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลาเส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร้านขายของชำปลอดยาอันตราย ตำบลกะลาเส อำเภอ สิเกา จังหวัดตรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลาเส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยาในชุมชนเป็นปัญหาที่มีในประเทศไทยมาหลายทศวรรษซึ่งเกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายปัจจัย ได้แก่ ผู้ใช้ยา ผู้สั่งใช้ยา ผู้ผลิต การกระจายยา และการควบคุมกำกับตามกฎหมายยา จากการทบทวนงานวิจัยในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องพบว่าสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ใช้ยาขาดความรู้ที่ถูกต้อง มีความเชื่อที่ผิดๆ และที่สำคัญมีแหล่งจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมและผิดกฎหมายกระจายอยู่ทั่วไป ส่งผลให้เกิดการใช้ยาและการกระจายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่เหมาะสม ในขณะเดียวกันผู้จำหน่ายที่ขายยาให้กับประชาชน โดยไม่มีความรู้หรือผ่านการศึกษาอบรมด้านยามาก่อน ย่อมไม่ทราบถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพหรือผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นผลการสำรวจร้านค้าปลีกในระดับตำบลภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในปี 2560 จำนวน 4,128 ร้าน (23 จังหวัด) และปี 2561 จำนวน 887 ร้าน (28 จังหวัด) พบว่าร้านค้าปลีกจำนวนมากขาย "ยาอันตราย" เช่น ยาปฏิชีวนะ รวมทั้งสเตียรอยด์ที่เป็น "ยาควบคุมพิเศษ" ทั้งที่ตามกฎหมายยาแล้ว "ยาอันตราย" และ "ยาควบคุมพิเศษ" ต้องจำหน่ายในร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำเท่านั้น ในร้านค้าปลีกเหล่านี้พบผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารสเตียรอยด์ เช่น ยาแผนโบราณ ยาสมุนไพร ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ยาผง ยาเม็ด ยาลูกกลอน ยาน้ำ ยาต้ม ยาหม้อ ยากษัยเส้น ยาประดง รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้วย นอกจากร้านค้าปลีกแล้วในชุมชนยังพบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในแหล่งกระจายยาอื่นๆ เช่น รถเร่ ตลาดนัด/แผงลอย ตลาดทั่วไป ตัวแทนบริษัท วัด เป็นต้น"ยาปฏิชีวนะ " โดยเฉพาะกลุ่มเตตร้าซัยคลินและเพนิซิลลินเป็นกลุ่มยาที่มีการจำหน่ายมากที่สุดในร้านค้าปลีก (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปี ๒๕๖๐) สอดคล้องกับผลการสำรวจยาในครัวเรือนที่ดำเนินการโดยบุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ในปี 25๖0-256๒ พบว่าการใช้ยาในครัวเรือน ๖2 จังหวัด จำนวน 22,๘30 ครัวเรือน พบยาปฏิชีวนะเหลือใช้ในครัวเรือน ประมาณร้อยละ 10 โดยสองอันดับแรกที่พบมากที่สุด คือ amoxicillinและtetracycline แหล่งที่ได้รับยาปฏิชีวนะสูงสุด 3 อันดับแรก คือ สถานพยาบาลภาครัฐ (โรงพยาบาลของรัฐ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) ร้านขายยา (ข.ย.1) และร้านค้าปลีก และ ประมาณร้อยละ 11 ของครัวเรือน พบยา กลุ่มเสี่ยงที่ปนเปื้อนสเตียรอยด์ ข้อมูลนี้สะท้อนว่าพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากการกินยาไม่ต่อเนื่องหรือไม่ครบตามที่บุคลากรสาธารณสุขแนะนำ โดยได้สำรวจข้อมูลในพื้นที่ตามโครงการ “ยามตู้ยา” ประจำปี ๒๕๖๓ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง พบว่าในร้านชำจำนวน ๒๒ ร้าน มีจำนวน ๑๐ ร้าน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๔๕ ที่มีการจำหน่ายยาปฏิชีวนะยาสเตียรอยด์ (ยาเดี่ยวและยาชุด) ยาแก้ปวด NSAIDs และยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ ให้แก่คนในชุมชน โดยกลุ่มยาที่พบการจำหน่ายสูงสุด คือ ยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ คิดเป็นร้อยละ ๘6.๓๖ยาปฏิชีวนะ คิดเป็นร้อยละ 4๕.๔๕ยาแก้ปวด NSAIDs คิดเป็นร้อยละ 2๒.๗๓ ยาสเตียรอยด์ (ยาเดี่ยวและยาชุด) คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๖๔ ตามลำดับ (เภสัชกรหญิงอารีรัตน์พักตร์จันทร์เภสัชกรชำนาญการพิเศษโรงพยาบาลรัษฎา)
และจากการสอบถามผู้ประกอบการเกี่ยวกับ พิษภัยของยา ปรากฏว่าไม่มีความรู้และไม่ทราบถึงผลข้างเคียงที่ตามมา คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ และพบยาหมดอายุ จำนวน๓ รายการจากการสำรวจข้อมูลร้านขายของชำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส จำนวน ๒๐ ร้าน พบว่ายังขาดความรู้ที่ถูกต้อง มีความเชื่อที่ผิดๆและมีร้านขายของชำบางร้านยังมีการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการดำเนินการเชิงรุกในชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการร้านขายของชำในการเลือกจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงประชาชนให้มีทักษะในการคุ้มครองตนเองและครอบครัวในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส ได้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำ “โครงการร้านชำปลอดยาอันตราย ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 256๕” ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการร้านขายของชำปลอดยาอันตราย ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

ชื่อกิจกรรม
โครงการร้านขายของชำปลอดยาอันตราย ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส เป็นเงิน ๑๑,๘๕๐ บาท
(หนึ่งหมื่นหนึ่งพันแปดร้อยห้าสิบบาทถ้วน) รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้     8.1 กิจกรรมที่ 1 การจัดอบรมและวางแผนดำเนินงานภาคีเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ประกอบการร้านขายของชำ รวมเป็นเงิน 9,4๗๕ บาท (เก้าพันสี่ร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน)
โดยมีรายละเอียดดังนี้
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๔๗ คน ๆ ละ ๒ มื้อ ๆ ละ 25 บาท                เป็นเงิน ๒,๓๕๐ บาท - ค่าเอกสารประกอบการชี้แจง จำนวน ๔๗ ชุด ชุดละ 25 บาท                            เป็นเงิน ๑,๑๗๕ บาท             - ค่าตอบแทนวิทยากร(บุคลากรภาครัฐ)จำนวน 1 คนจำนวน ๔ ชั่วโมง ๆ 600บาท    เป็นเงิน ๒,๔๐๐ บาท             - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๔๗ คน คนละ ๑ มื้อ มื้อละ ๕๐ บาท                         เป็นเงิน ๒,๓๕๐ บาท             - ค่าแผ่นสติกเกอร์สีแบบเคลือบเงา (อันตรายจากการใช้ยาไม่สมเหตุผล) ขนาด A๔  จำนวน  ๒๐ แผ่นๆ ละ ๖๐ บาท                                                               เป็นเงิน ๑,๒๐๐ บาท     8.๒ กิจกรรมที่ ๒ การประชุมสรุปผลการประเมินร้านขายของชำ รวมเป็นเงิน ๒,๓๗๕ บาท (สองพันสามร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียดดังนี้             - ค่าป้ายร้านขายของชำปลอดยาอันตรายพร้อมเคลือบขนาด A๔ จำนวน ๒๐ แผ่นๆ ละ ๖๐ บาท เป็นเงิน  ๑,๒๐๐  บาท             - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๔๗ คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท                เป็นเงิน ๑,๑๗๕ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.เพื่อให้ความรู้ในการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม แก่ผู้ประกอบการร้านขายของชำในชุมชน ร้อยละของผู้ประกอบการร้านขายของชำมีความรู้และไม่มีการจำหน่ายยาอันตรายเช่น ยาปฏิชีวนะ  ยาเตียรอยด์ และชาชุด แบบประเมิน  ๑๐๐% ๒.เพื่อพัฒนาให้เกิดเครือข่ายชุมชนด้านส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล  เกิดเครือข่ายชุมชนด้านส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส    มีการจัดตั้งเครือข่ายชุมชนด้านส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ๑ เครือข่าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ภาคีเครือข่ายชุมชนและผู้ประกอบการร้านขายของชำ มีความรู้ในการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสมเพิ่มขึ้น
2.ร้านขายของชำในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายไม่มีการจำหน่ายยาอันตราย เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ และยาชุด
๓.ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการเลือกซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยเพิ่มขึ้น


>