กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอสม.พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรมต้านเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอสม.พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรมต้านเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมะนังยง

ห้องประชุมชั้น 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการพัฒนาด้านสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่ดี เกิดความทั่วถึง เท่าเทียมของประชาชนทุกคน โดยให้ประชาชนได้รับความรู้สถานะของตนเองและเข้าถึงการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัยให้มีความครอบคลุมในมิติทางด้านสุขภาพทั้ง 4 มิติ คือ มิติด้านการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักด้านสุขภาพ จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินให้เป็นพฤติกรรมที่ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค และลดโรคที่เป็นแล้วให้เป็นน้อยลงหรือหายเป็นปกติ โดยเฉพาะ 3 อ คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และ 2 ส คือ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา เป็นการ "ปรับก่อนป่วย" เพราะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิต การส่งเสริมสุขภาพจึงทำให้ "ประชาชนสุขภาพดี เริ่มที่สร้างนำซ่อม" โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ผู้เป็นพลังชุมชนที่สำคัญในการเป็นผู้นำ เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยมีบทบาทที่สำคุญในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะด้านสุขภาพให้แก่คนในชุมชน ร่วรู่สถานะสุขภาพ ร่วมปรับพฤติกรรมต้านภัยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
อาสามัครสาธารณสุขตำบลมะนังยง มีจำนวนทั้งสิ้น 53 คน ซึ่งครอบคลุมทุกหมู่บ้าน จากการสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพของอสม. ร้อยละ 65 ของอสม. มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน, ร้อยละ 10 ของอสม. มีโรคความดันโลหิตสูง , ร้อยละ 7 ของอสม.มีน้ำตาลในเลือดสูงเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และร้อยละ 18 ของอสม. มีสุขภาพที่แข็งแรง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมะนังยงรร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยงจึงได้จัดทำโครงการอสม.พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม ต้านภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อให้อสม.และชุมชนพัฒนาเป็นองค์กรสรา้งสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคได้อย่างยั่งยืนสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขเกิดความตระหนักด้านสุขภาวะโดยการคัดกรอง เฝ้าระวังโรคและป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงของตนเองและชุมชน

 

0.00
2 เพื่อให้เกิดการดำเนินการในการลดปัจจัยเสี่ยง ลดการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของอสม.และชุมชน

 

0.00
3 เพื่อให้อสม.และองค์กรอสม.พัฒนาเป็นองค์กรสรา้งสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคอย่างยั่งยืน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมะนังยง 53

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 เชิญประชุมคณะทำงานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมะนังยงเพื่อเตรยมความพร้อมในการจัดกจกรรม 1.2 เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติงบประมาณ 1.3 ประชาสัมพันธ์การรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรม 1.4 จัดโครงการตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ 1.5 สรุปผลโครงการ 1.6 รายงานผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรม/บรรยายให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม/บรรยายให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 อบรมให้ความรู้ในหัวข้อ
- บทบาทหน้าที่ของอสม. - หลัก 3 อ. และ 2 ส. - การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Change Agent) 2.2 รายละเอียดค่าใช้จ่ายมีดังนี้ - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ จำนวน 55 คน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,750 บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อ จำนวน 55 คน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,850 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.50 x 3.00 เมตร เป๋นเงิน 1,125 บาท - ค่าวิทยากรบรรยายให้ความรู้ จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรม จำนวน 55 ชุด ๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11775.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผลและสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลและสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ประเมินผลโครงการ โดยการตรวจสุขภาพเบื้องต้นก่อน - หลัง เข้ารับการฝึกอบรม เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วันเอว - สะโพก วัดความดันโลหิตสูง เจาะเลือดเพื่อหาค่าน้ำตาลในเลือด เป็นต้น 3.2 สรุปผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,775.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อาสาสมัครสาธารณสุขเกิดความตระหนักด้านสุขภาวะโดยการคัดกรอง เฝ้าระวังโรคและป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงของตนเองและชุมชน
2. อสม.และองค์กรอสม.พัฒนาเป็นองค์กรสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคอย่างยั่งยืน


>