กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนปลอดบุหรี่ : ตำบลสะเตงนอก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก

ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสูบบุหรี่ นับเป็นพฤติกรรมเสี่ยงส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs และเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดภาระโรคที่เพิ่มสูงขึ้นในประชากรไทยจากการวิเคราะห์สถานการณ์การบริโภคยาสูบในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2550–2559) พบว่า ความชุกของผู้สูบบุหรี่มีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ แม้ว่าประเทศไทยจะมีการดำเนินการมาตรการเพื่อร่วมมือกันในหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคีเครือข่าย ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ยังพบว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยังคงสูบบุหรี่แล้วไม่สามารถเลิกสูบได้ เด็กและเยาวชนที่กำลังก้าวสู่การเป็นนักสูบหน้าใหม่ยังคงมีอยู่ทุกพื้นที่
ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีประชากรทั้งหมด 35,114 คน 15,663 ครัวเรือนจากสถานการณ์การสูบบุหรี่ในพื้นที่ เทศบาลเมืองสะเตงนอก พบว่าจำนวนสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ได้รับ การสังเกตในปี 2563 จำนวน 52 ร้านพบว่า ไม่ปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ครบตามเกณฑ์(4 ข้อ) (ไม่แสดงยี่ห้อ / ไม่แสดงราคาบุหรี่, ไม่เปิดตู้ / ไม่วางโชว์ซองบุหรี่,ไม่วาง/ไม่แขวนซองยาเส้น และ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการสูบบุหรี่)จำนวน 38 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 73.1 และสถานที่สาธารณะที่ได้รับการสังเกตในปี 2563 จำนวน 116 แห่ง พบว่าจัดสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ ไม่ครบตามเกณฑ์(3 ข้อ) (มีป้ายห้ามสูบบุหรี่นอกอาคาร, ในอาคารและไม่พบการสูบบุหรี่ในบริเวณใดๆ) 87 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75.0 (ข้อมูลจากมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ วันที่ 31 มีนาคม 2563) ซึ่งแสดงถึงการมีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพทั้งที่เกิดกับผู้สูบบุหรี่ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสอง การเฝ้าระวัง การป้องกันการรณรงค์ การให้ความรู้ การบำบัดฟื้นฟูและการบังคับใช้กฎหมาย จึงมีความจำเป็นต่อการดำเนินงานในการขับเคลื่อนที่จะทำให้ชุมชนตำบลสะเตงนอกเป็นชุมชนปลอดบุหรี่ ประกอบกับการที่มีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งในการดำเนินงานต่างๆ ในพื้นที่ อาทิเช่น โรงพยาบาลส่งเสริมเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการสุขภาพ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ฯลฯ จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบในพื้นที่ตำบลสะเตงนอกมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตำบลสะเตงนอก จึงได้จัดทำโครงการชุมชนปลอดบุหรี่ : ตำบลสะเตงนอก เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปลอดบุหรี่ต้นแบบ สอดคล้องตามนโยบาย มาตรการ และแผนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 อันจะส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในตำบลสะเตงนอกต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 360
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน × 1 มื้อ × 75 บาท  เป็นเงิน  4,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน × 2 มื้อ × 35 บาท           เป็นเงิน  4,200 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน × 5 ชั่วโมงๆละ 500 บาท                     เป็นเงิน  2,500 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5 ม.× 3ม.× ตร.ม.ละ 300 บาท                 เป็นเงิน  1,350 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อพัฒนาทีมงานและภาคีเครือข่ายด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12550.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสื่อสารความเสี่ยงในสถานศึกษา จำนวน 12 แห่งๆละ 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสื่อสารความเสี่ยงในสถานศึกษา จำนวน 12 แห่งๆละ 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน
- ค่าสมุดจำนวน 360 เล่ม × 7 บาท                    เป็นเงิน    2,520  บาท - ค่าปากกาจำนวน 360 เล่ม × 6 บาท                           เป็นเงิน    2,160  บาท - ค่ากระดาษชาร์ป 2 โหลๆละ 70 บาท                    เป็นเงิน         140  บาท
- ปากกาเคมี 12 ด้าม × 15 บาท                        เป็นเงิน      180  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คน ×1 มื้อ×35 บาท× 12 แห่ง เป็นเงิน  12,600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อสร้างความตระหนักและป้องกันนักสูบหน้าใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่เชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่เชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเกียรติบัตรพร้อมกรอบ จำนวน  20 ชุด × 300 บาท            เป็นเงิน   6,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อสนับสนุนหรือสร้างระบบในการช่วยเลิกบุหรี่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีคณะทำงาน และนโยบายในการดำเนินงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ
2. ทีมงานและภาคีเครือข่ายด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบในพื้นที่มีศักยภาพ สามารถดำเนินงานและขับเคลื่อนชุมชนให้เป็นชุมชนปลอดบุหรี่
3. ประชาชน ร้านค้า และประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลกระทบจากการบริโภคยาสูบ
4. พื้นที่เป้าหมายปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560
5. มีระบบในการดูแลและช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่


>