กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรปลอดโรคผู้บริโภคปลอดภัยด้วย สมุนไพรล้างพิษ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

ตำบลท่าบอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสมุนไพรล้างพิษ

 

80.00
2 เกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เข้าร่วมโครงการได้ตรวจคัดกรองสารพิษตกค้าง

 

80.00
3 เกษตรกรที่มีความเสี่ยงมีผลการตรวจเลือดปกติหลังจากทานสมุนไพรล้างพิษ

 

50.00

ประชากรไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพาะปลูก ได้แก่ การทำนา ทำสวน ทำไร่จะเห็นได้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ได้คำนึงถึงอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางโดยการสัมผัสทางผิวหนังจากการไม่สวมถุงมือและไม่สวมรองเท้าป้องกันขณะทำงาน การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งในอากาศ การรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพเกษตรกรทั้งสิ้น
การได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะเป็นพิษและอันตรายต่อสุขภาพ สามารถเกิดอาการแสดงเฉียบพลันตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนระดับรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ นอกจากเกษตรกรจะได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้วยังมีประชาชนทั่วไปที่บริโภคผักและผลไม้ได้รับสารพิษที่ตกค้างอยู่ได้
ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา ทำสวน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอนซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษเพื่อดูแลสุขภาพเกษตรกรในชุมชน ประกอบด้วยการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การเจาะเลือดคัดกรองเพื่อสืบค้นความผิดปกติในระยะแรกเริ่ม ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศตรูพืช ตลอดจนการแนะนำวิธีการรักษาเบื้องต้นโดยใช้สมุนไพรในการล้างพิษ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสมุนไพรล้างพิษ

เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสมุนไพรล้างพิษ

80.00 80.00
2 เพื่อเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เข้าร่วมโครงการได้ตรวจคัดกรองสารพิษตกค้าง

เกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เข้าร่วมโครงการได้ตรวจคัดกรองสารพิษตกค้าง

80.00 80.00
3 เพื่อลดการเจ็บป่วยและอันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีกำจัดศตรูพืช

เกษตรกรที่มีความเสี่ยงมีผลการตรวจเลือดปกติหลังจากทานสมุนไพรล้างพิษ

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมินความเสี่ยงของเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
ประเมินความเสี่ยงของเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินความเสี่ยงของเกษตรกร โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช - ค่าแบบประเมินความเสี่ยง จำนวน 100 ชุด  ชุดละ 2 บาท = 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2565 ถึง 29 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประเมินความเสี่ยงของเกษตรกร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีที่ถูกต้องแก่กลุ่มเกษตรกรในตำบลท่าบอน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีที่ถูกต้องแก่กลุ่มเกษตรกรในตำบลท่าบอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินความรู้ก่อนรับการอบรม -ค่าแบบทดสอบก่อนได้รับความรู้ จำนวน 100 ชุด ชุดละ1 บาท = 100 บาท อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้และการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง แนะนำการใช้ยาสมุนไพรรางจืดล้างพิษแก่กลุ่มเกษตรกรในตำบลท่าบอน -ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 100 คน = 5,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อมื้อละ 25 บาท50 x 100 คน =5,000 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน คนละ2 ชม. เหมาจ่ายคนละ 1,000 บาทจำนวน 2 วัน = 2,000 บาท - ค่าไวนิลโครงการวันอบรม ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร 500 บาท x 1 ป้าย =500 บาท -ค่าปากกา 100 แท่ง แท่งละ 10 บาท = 1,000 บาท ประเมินความรู้หลังรับการอบรม -ค่าแบบทดสอบหลังได้รับความรู้ จำนวน 100 ชุด ชุดละ 1 บาท = 100 บาท ตรวจเลือดเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เข้าร่วมโครงการด้วยอุปกรณ์ดังนี้ 1. ชุดทดสอบสารพิษในกระแสเลือด 2. เข็มเจาะปลายนิ้ว 3. หลอดใส่เลือด 4. ถุงมือ 5. สำลี 6. แอลกอฮอล์ 70 % 7. แผ่นสไลด์ 8. แบบรายงานผลการเจาะเลือด -ค่าชุดทดสอบสารพิษในกระแสเลือดจำนวน3 ชุด ราคาชุดละ 350 บาท = 1,050 บาท -ค่า เข็มเจาะปลายนิ้ว 3 กล่อง x 580 บาท = 1,740 บาท -ค่าหลอดใส่เลือด 3 กล่อง x 150 บาท = 450 บาท -ค่าถุงมือ 2 กล่องx 150 บาท = 300บาท -ค่าสำลีแอลกอฮอล์สำเร็จรูป 1 กล่องx 800 บาท = 800 บาท -ค่าแผ่นสไลด์ 3 กล่องx 100 บาท= 300 บาท
-ค่าแบบรายงานผลการเจาะเลือด จำนวน 100 ชุด x 1 บาท = 100 บาท จ่ายชาชงสมุนไพรรางจืดแก่เกษตรกรที่มีสารพิษตกค้างในเลือดที่อยู่ในระดับไม่ปลอดภัย โดยแพทย์แผนไทยประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน พร้อมทั้งแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง -ชาชงรางจืด 1,000 ซอง ซองละ 3.5 บาท = 3,500 บาท นัดตรวจเลือดซ้ำสำหรับเกษตรกรที่ได้รับชาชงสมุนไพรรางจืดไปทาน 1 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เข้าร่วมโครงการได้ตรวจคัดกรองสารพิษตกค้าง เกษตรกรที่มีความเสี่ยงมีผลการตรวจเลือดปกติหลังจากทานสมุนไพรล้างพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21940.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,140.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสมุนไพรล้างพิษเพิ่มขึ้น
๒. เกษตรกรที่มีความเสี่ยงมีผลการตรวจเลือดปกติหลังจากทานสมุนไพรล้างพิษ
๓. เกษตรกรและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช


>