กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใส่ใจสุขภาพด้วยวิถีชีวิต 3อ.2ส.

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ฝ่ายสุขศึกษา กลุ่มปฐมภูมิ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1.นางจิราวรรณ ศุลกะนุเคราะห์ โทร. 081-5408321
2.นายอาซูวัลย์ สะแลแม โทร. 087-9687458

ห้องประชุมราชพฤกษ์ อาคารอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุไหงโกลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มเสี่ยงที่ขาดความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ข้อมูลการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกปี 2564 มีผู้รับบริการทั้งหมด 512 ราย

 

83.00
2 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่พบจากการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกปี 2564 ข้อมูลการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกปี 2564 มีผู้รับบริการทั้งหมด 512 ราย

 

34.00
3 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบจากการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกปี 2564 ข้อมูลการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกปี 2564 มีผู้รับบริการทั้งหมด 512 ราย

 

16.00

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยขาดการออกกำลังกายเครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน,หัวใจ,โรคความดันโลหิตสูง,โรคไขมันในเลือดสูง,โรคอ้วนซึ่งโรคดังกล่าวเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และมีการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
จากงานตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกในหน่วยงานราชการภายนอกได้รับการตรวจสุขภาพทั้งหมดซึ่งในปีงบประมาณ 2564 ผู้มารับบริการตรวจสุขภาพ 512 ราย เป็นกลุ่มเสี่ยง 83 ราย กลุ่มป่วย 50 ราย กลุ่มปกติ 364 ราย งานคลินิกคนไทยไร้พุงทั้งหมด จำนวน 15 คน กลุ่มเสี่ยง 10 คน กลุ่มป่วย 5 คน ยังมีปัญหาเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพที่เป็นสาเหตุและปัจจัยเสียงที่จะเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องในการดูแลและจัดการสุขภาพของตนเอง การตรวจสุขภาพประจำเชิงรุกของประชาชนที่มารับบริการซึ่งถือว่าสำคัญในการที่ค้นหาและคัดกรองสุขภาพของคนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงรายใหม่ และกลุ่มป่วยไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย ได้เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3.อ. 2ส เพื่อให้ความรู้และจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ เลี่ยงบุหรี่ สุรา ส่งเสริมการดูแลและจัดการสุขภาพของตนเองได้ถูกต้องในกลุ่มปกติ และลดกลุ่มเสี่ยงรายใหม่ รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย นำไปสู่การมีสุขภาพดีและยั่งยืน
ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ งานรักษาพยาบาลชุมชน และงานคลินิกคนไทยไร้พุง โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการใส่ใจสุขภาพด้วยวิถีชีวิต3อ.2ส. ในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยผู้ตรวจสุขภาพประจำปี เจ้าหน้าที่ภายใน/ภายนอก/และคลินิกคนไทยไร้พุง ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส.

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตามหลักกับ 3อ. 2ส.ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00 0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุเขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ.2ส.

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีการจัดการตนเองมีทักษะและมีแนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องตามหลัก3อ.2ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

0.00 0.00
3 เพื่อให้ระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เปิดโครงการใส่ใจสุขภาพด้วยวิถีชีวิต 3 อ. 2 ส.

ชื่อกิจกรรม
เปิดโครงการใส่ใจสุขภาพด้วยวิถีชีวิต 3 อ. 2 ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
1. ขั้นเตรียมการ
- วิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(กลุ่มงานเวชกรรมสังคม/ ประชุมวางแผนกิจกรรม)
- จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการ
2. ขั้นดำเนินการ
- กิจกรรมการดำเนินงาน
- สำรวจข้อมูล คัดกรองกลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วย
- จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
- ประชุมชี้แจงและประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อมอบหมายงาน
- ประสานวิทยากร
- เขียนโครงการ/เสนอโครงการ/อนุมัติโครงการ
- ส่งหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานราชการต่างๆ หนังสือเวียนภายในโรงพยาบาลบุคลากรที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยเข้าร่วมโครงการโดยสมัครใจ
- ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
โดยมีกำหนดการ ดังนี้
กำหนดการโครงการ “3อ.2ส. ห่างไกลNCD” วันที่..... ก.ค. 2565เวลา 08.00-16.00 น. ณ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
เวลา 08.00-08.30 น. ลงทะเบียน/คัดกรอง/Pretest
เวลา 08.30-09.00 น. พิธีเปิดโครงการ
เวลา 09.00-10.00 น. บรรยายเรื่องโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมอง อาการเตือน และการจัดการหรือการตระหนักถึงการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆกับโรคNCD วิทยากรจากแพทย์อายุรกรรม
เวลา 10.00-12.00 น. บรรยายการการจัดการตนเองด้านอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม วิทยากรนักโภชนากร คุณกนกกาญจน์ ปิ่นทองพันธุ์ กิจกรรมแบ่งกลุ่ม Work shop เรียนรู้อาหารหวาน มัน เค็ม 7 ฐาน
เวลา 12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00-16.00 น. บรรยายและสาธิตการดูแลตนเอง การออกกำลังกายที่เหมาะสม ห่างไกล NCD วิทยากรจากกลุ่มงานรักษาพยาบาลชุมชน
เวลา 16.00 น. ปิดโครงการ
หมายเหตุ เวลา 10.30 น. และเวลา 14.30 น.พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าอาหารกลางวัน 60 คน X 50 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน X 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน X 600 บาท X 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ทำกิจกรรมการอบรม(เมนูอาหารสุขภาพ) เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายทราบถึงภาวะสุขภาพของตนเองและปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนเองได้
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องสุขภาพด้วย 3อ.2ส. และมีทักษะและหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้
  3. กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม กลุ่มป่วยสามารถลดภาวะแทรกซ้อนของโรคที่เป็นได้
  4. ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชุมติดตามประเมินตามเกณฑ์ 3อ. 2ส.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมติดตามประเมินตามเกณฑ์ 3อ. 2ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ประชุมติดตาม ประเมินตามเกณฑ์ 3อ. 2ส.
- ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบก่อน-หลัง และนัดติดตาม 3 เดือนหลังอบรม
- ติดตาม วิเคราะห์ ประเมินภาวะสุขภาพดูค่าระดับน้ำตาล/ความดันโลหิต
- สรุปการดำเนินงาน
กำหนดการโครงการ “3อ.2ส. ห่างไกลNCD” วันที่...... ส.ค. 2565 เวลา 08.00-16.00 น. ณ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
เวลา 08.00-09.00 น. ลงทะเบียน/คัดกรอง/Postest
เวลา 09.00-10.00 น. บรรยายปัจจัยเสี่ยงต่างๆ กับโรคNCD และนำเสนอผลเลือดจากการตรวจสุขภาพ
เวลา 10.00-12.00 น. บรรยายการคำนวณแคลอรี่ หวาน มัน เค็ม
เวลา 12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00-16.00 น. บรรยายและสาธิตการดูแลตนเอง การจัดการความเครียดและ การออกกำลังกายที่เหมาะสม ห่างไกล NCD
เวลา 16.00 น. ปิดโครงการ
หมายเหตุ เวลา 10.30 น. และเวลา 14.30 น.พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าอาหารกลางวัน 60 คน X 50 บาท X 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน X 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเข้าใจเกี่ยวกับ3อ.2ส ร้อยละ 80
  2. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีการจัดการตนเองมีทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง ร้อยละ 80
  3. ระดับความดันโลหิตและระดับนำ้ตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 50
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,600.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายทราบถึงภาวะสุขภาพของตนเองและปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนเอง
2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่อง 3อ.2ส. และมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้
3. กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้อง กลุ่มป่วยสามารถลดภาวะแทรกซ้อนของโรคที่เป็นได้ ลดจำนวนโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้


>