กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลาเส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลาเส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพ เป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุข ในการส่งเสริมสุขภาพจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของมิติสุขภาพ เข้าใจหลักและวิธีปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง การที่ประชาชนจะหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองนั้นจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับตนเองแล้วเท่านั้น ซึ่งการปฏิบัติตัวแบบนี้เป็นการรักษาตนเองที่ปลายเหตุไม่มีทางที่จะใช้ชีวิตโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ การจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพที่ต้นเหตุของปัญหาต่างหากที่จะสามารถรักษาร่างกายของมนุษย์ให้ดำรงชีวิตอยู่แบบปราศจากโรคภัย สาเหตุที่ทำให้ประชาชนเกิดปัญหาทางสุขภาพมากที่สุด คือการดำรงชีวิตในปัจจุบันที่ไม่รู้จักความเป็นอยู่ที่พอเพียง ทำให้ร่างการเกิดความเครียด วิตกกังวล การบริโภคอาหารที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ รวมไปถึงการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและปัญหาต่างๆ ที่ตามมาอีกมากมาย การหันกลับมาสนใจการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ การพึ่งพาธรรมชาติตามแนวคิดทฤษฏีการแพทย์แผนไทยที่มุ่งดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยมองมิติทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความสมดุลให้กับชีวิตมนุษย์ ดังนั้นการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้แก่ประชาชนและชุมชนให้สามารถดูแลตัวเองได้จึงนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคที่แท้จริง
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกรวมถึงการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่นการรักษาโรคด้วยสมุนไพร การออกกำลังกายด้วยกายบริหารฤๅษีดัดตน การนวดผ่อนคลายด้วยตนเอง เป็นต้น เมื่อมีการนำองค์ความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วน่าจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพเองได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพของประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ เพื่อนำองค์ความรู้เรื่องในการดูแลสุขภาพการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบำบัดรักษาโรคและส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ๒. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีทักษะในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย

๒.๑ จัดทำโครงการและขออนุมัติ ๒.๒ สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่รับผิดจำนวน ๕ หมู่บ้าน เพื่อเตรียมดำเนินการอบรมการส่งเสริมดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ๒.๓ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒.๔ เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ และสถานที่
๒.๕จัดอบรมการส่งเสริมดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยให้กับประชาชน โดยมี                นางสาวเรณู คงเหมือน ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไม้แก้ว  เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการนวดตัวเอง และการออกกำลังกายแบบไทย และนางสาวศุภรัตน์ หกสี่ ตำแหน่งแพทย์แผนไทยปฏิบัติการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไม้แก้ว เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการใช้ยาสมุนไพร
๒.๖ สรุปผลการดำเนินตามโครงการส่งเสริมดูแลสุขภาพประชาชนด้วยการแพทย์แผนไทย ปี ๒๕๖๕

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ ๒๕๖๕

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ ๒๕๖๕
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส         จำนวน  ๙,๕๕๐ บาท         ค่าวิทยากร ๕ ชม. ชม.ละ ๓๐๐ บาท              เป็นเงิน    ๑,๕๐๐  บาท        ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๒ มื้อ มื้อละ ๒๕ บาท จำนวน ๕๐ คน    
                                                                                                        เป็นเงิน    ๒,๕๐๐  บาท        ค่าอาหารกลางวัน ¬มื้อละ ๕๐ บาท จำนวน ๕๐ คน         เป็นเงิน    ๒,๕๐๐  บาท
        ค่าถ่ายเอกสารคู่มือนวดตนเองพร้อมเข้าเล่ม เล่มละ ๒๐ บาท จำนวน ๕๐ เล่ม
เป็นเงิน    ๑,๐๐๐  บาท         ค่าถ่ายเอกสารคู่มือท่ากายบริหารแบบไทยพร้อมเข้าเล่ม เล่มละ ๓๐ บาท จำนวน ๕๐ เล่ม                                          เป็นเงิน ๑,๕๐๐  บาท ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับยาสมุนไพร แผ่นละ ๑ บาท จำนวน ๕๐ แผ่น    เป็นเงิน    ๕๐  บาท ป้ายไวนิลตกแต่งสถานที่อบรม ขนาด ๑ x ๒ ม.            เป็นเงิน    ๓๐๐ บาท ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบ ก่อน-หลัง การอบรม จำนวน ๑๐๐ ชุด ชุดละ ๒ แผ่น แผ่นละ ๑ บาท                                เป็นเงิน    ๒๐๐ บาท                    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๙,๕๕๐ บาท (เก้าพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนนำความรู้นั้นไปดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคได้
๒. ผู้เข้าอบรมมีทักษะในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยทำให้ประชาชนสามารถนำความรู้ไปใช้ดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง


>