กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ครอบครัวสดใส ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

องค์การบริหารส่วนตำบลประจัน

1.นายมะรูดิง ยาโงะ
2.นางสาวยามีละห์เจะเตะ
3.นางสาวแวซำซียะปารามัล
4.นางอาซีซะห์จะปะกิยา
5.นางสาวอามีซะห์มะแอ

พื้นที่รับผิดชอบของตำบลประจัน (รพ.สต.บ้านบือแนปีแน)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในการพัฒนาประเทศและสังคมมนุษย์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อน ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจจำเป็นที่ต้องเริ่มจาก การสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนตั้งแต่เริ่ม จากการดูแลสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์เพื่อให้มีการตั้งครรภ์และการคลอด/หลังคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยมีสุขภาพแข็งแรงไม่เกิดโรคภาวะแทรกซ้อนต่างๆทั้งกับมารดาและทารกที่ตามมาเช่นตกเลือดหลังคลอด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน เป็นต้น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อมารดาและทารกในอนาคต เช่นการเจริญเติบโตช้าพัฒนาการล่าช้า ถือเป็นปัญหาที่สำคัญของงานอนามัยแม่และเด็กในประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่๗จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่๙ได้กำหนดเป้าหมายฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน หรือ12 สัปดาห์ ร้อยละ 75ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 75 ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกิน ร้อยละ 20 และทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยไม่เกินร้อยละ 7
จากผลการดำเนินงาน งานอนามัยแม่และเด็กในปี 2564 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 26.56จึงทำให้มารดามีภาวะซีดหลังคลอด อ่อนเพลียส่งผลต่อการให้นมบุตร และการดูแลเลี้ยงดูทารกได้อย่างมีคุณภาพภาวะโลหิตจางจากการสอบถามพบว่า หญิงตั้งครรภ์รับประทานยาเสริมธาตุเหล็กไม่สม่ำเสมอต่อเนื่องหญิงตั้งและครอบครัวมีความเชื่อเรื่องยาเสริมธาตุเหล็กและอาหารแสลงในช่วงตั้งครรภ์ และหลังคลอด เป็นต้นการอบรมให้ความรู้ และรณรงค์สร้างกระแสการดูแลสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์ จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ ครอบครัว ได้เข้าใจและปฏิบัติเพื่อสุขภาพที่ดีของมารดาทารก ...ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ครอบครัวสดใส

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 พื่อสำรวจค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ และกระตุ้นให้มาฝากครรภ์เร็วที่สุด (ท้องปุ๊บ ฝากปั๊ป) ร้อยละ 90
  1. เพื่อสำรวจค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ และกระตุ้นให้มาฝากครรภ์เร็วที่สุด (ท้องปุ๊บ ฝากปั๊ป) ร้อยละ 90
    1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายคือ หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 60 คน และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์
  2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายคือ หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 60 คน ได้รับการประเมินภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ครอบครัวสดใส

ชื่อกิจกรรม
โครงการลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ครอบครัวสดใส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ในการพัฒนาประเทศและสังคม  มนุษย์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อน ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ  จำเป็นที่ต้องเริ่มจาก การสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนตั้งแต่เริ่ม จากการดูแลสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์เพื่อให้มีการตั้งครรภ์และการคลอด/หลังคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยมีสุขภาพแข็งแรงไม่เกิดโรคภาวะแทรกซ้อนต่างๆทั้งกับมารดาและทารกที่ตามมา  เช่นตกเลือดหลังคลอด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม  ทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน เป็นต้น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อมารดาและทารกในอนาคต เช่นการเจริญเติบโตช้า  พัฒนาการล่าช้า ถือเป็นปัญหาที่สำคัญของงานอนามัยแม่และเด็กในประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่๗จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่๙ได้กำหนดเป้าหมายฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน หรือ12 สัปดาห์ ร้อยละ 75  ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 75   ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกิน ร้อยละ 20   และทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยไม่เกินร้อยละ 7
       จากผลการดำเนินงาน งานอนามัยแม่และเด็กในปี 2564 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง  ร้อยละ 26.56  จึงทำให้มารดามีภาวะซีดหลังคลอด อ่อนเพลีย  ส่งผลต่อการให้นมบุตร และการดูแลเลี้ยงดูทารกได้อย่างมีคุณภาพ  ภาวะโลหิตจางจากการสอบถามพบว่า หญิงตั้งครรภ์รับประทานยาเสริมธาตุเหล็กไม่สม่ำเสมอต่อเนื่อง  หญิงตั้งและครอบครัวมีความเชื่อเรื่องยาเสริมธาตุเหล็กและอาหารแสลงในช่วงตั้งครรภ์ และหลังคลอด เป็นต้น  การอบรมให้ความรู้ และรณรงค์สร้างกระแสการดูแลสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์ จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ ครอบครัว ได้เข้าใจและปฏิบัติเพื่อสุขภาพที่ดีของมารดาทารก ...ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ครอบครัวสดใส

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ถูกต้อง
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางได้รับการดูแลรักษาอย่างครบถ้วน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ถูกต้อง
2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางได้รับการดูแลรักษาอย่างครบถ้วน


>