กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสูงวัยสดใส คนพิการร่วมใจ.... บือแนปีแนไม่ถอดทิ้งกัน ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน

1.นายมะรูดิงยาโงะ
2.นางสาวยามีละห์เจะเตะ
3.นางสาวแวซำซียะปารามัล
4.นางปาตีเมาะอาเยาะแซ
5.นางสาวอามีซะห์ มะแอ

พื้นที่ในเขตบริการรพ.สต.บ้านบือแนปีแน ตำบลประจัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุ 12,116,199 คน คิดเป็น18.3% (ข้อมูลเมื่อวันที่31มกราคม 2565 จากกรมกิจการผู้สูงอายุ) ผู้สูงอายุในไม่ช้าก็จะเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบเต็มรูปแบบ และส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุจะเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ความดัน เบาหวาน ไต หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ เป็นต้น และส่วนหนึ่งจะมีความพิการภาวะแทรกของโรคดังกล่าว
ในประเทศไทยมีคนพิการทั้ง 7 ประเภท มีจำนวน 2,102,384 คน คิดเป็น 3.18% (ข้อมูลเมื่อวันที่31ธันวาคม2564 จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) บุคคลเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มที่ด้อยโอกาส ที่ต้องได้รับการดูแลเยียวยา และคุ้มครองสิทธิ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี
จากการสำรวจข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน พบว่าจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดมีจำนวน 349 คน คิดเป็นร้อยละ 9.69% เป็นผู้สูงอายุติดสังคม 317คน คิดเป็นร้อยละ90.83% ผู้สูงอายุติดบ้านจำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 8.30% และติดเตียงจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.85% ส่วนจำนวนคนพิการทั้ง 7 ประเภท ทั้งหมดจำนวน 138 คน จำแนกเป็นพิการทางการเห็นจำนวน 7 คน ทางการได้ยินหรือสื่อความหมายจำนวน 11 คน ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายจำนวน 72 คน ทางจิตใจหรือพฤติกรรมจำนวน 32คน ทางสติปัญญาและทางการเรียนรู้จำนวน11คนและพิการซ้ำซ้อนจำนวน5คน
“ คนพิการ ”หมายถึง บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้หรือความบกพร่องอื่นใดประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างบุคคลทั่วไปทั้งนี้ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประกาศกำหนด ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
คนพิการ ผู้ดูแลและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเหล่านี้ยังขาดความเข้าใจในบทบาทของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการที่มีทักษะที่ดีในการดูแล เพื่อให้คนพิการได้เข้าถึงสิทธิ์ สามารถช่วยเหลือตัวเอง อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสภาพ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุและคนพิการอย่างเป็นระบบ โดยผู้ดูแลและชุมชนมีส่วนร่วม จึงได้จัดทำโครงการโครงการสูงวัยสดใส คนพิการร่วมใจ บือแนปีแนไม่ถอดทิ้งกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อเยี่ยมให้การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง/ ผู้สูงอายุและผู้พิการที่ขาดผู้ดูแลและปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง
2. เพื่อประเมินคุณภาพชีวิต ผู้ป่วยเรื้อรัง/ ผู้สูงอายุและผู้พิการ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 31/10/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการสูงวัยสดใส คนพิการร่วมใจ.... บือแนปีแนไม่ถอดทิ้งกัน

ชื่อกิจกรรม
โครงการสูงวัยสดใส คนพิการร่วมใจ.... บือแนปีแนไม่ถอดทิ้งกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลประจัน  จำนวน 67,900 บาท  รายละเอียด  ดังนี้     1.กิจกรรมพัฒนาศักยภาพอสม.ในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง/ ผู้สูงอายุและผู้พิการ (35,000)     - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 38 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ
  เป็นเงิน  1,900 บาท - ค่าเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 38 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน  2  มื้อ
  เป็นเงิน  1,900  บาท -ค่าวิทยากร 1 คน x 6 ชม.x 600บาท เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าวัสดุใช้ในการอบรม เป็นเงิน 2000 บาท -ค่าชุดแฟ้มประจำตัวอสม. 200 บาทx38 เป็นเงิน 7,600 บาท
-ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตดิจิตอล  4 เครื่อง x2,500 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท -ค่าเครื่องวัดน้ำตาลในเลือด 4 เครื่อง x 2000 บาท = 8,000 บาท 2.กิจกรรมอบรมเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง/ ผู้สูงอายุและผู้พิการ(ผู้ดูแล/ญาติ) 10,100            -ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน  45 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ
  เป็นเงิน  2,250  บาท - ค่าเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 45 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน  2  มื้อ
  เป็นเงิน  2,250  บาท -ค่าวิทยากร 1 คน x 6 ชม.x 600บาท เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าวัสดุในการอบรม 2,000 บาท 3.กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรัง/ ผู้สูงอายุและผู้พิการ     - ค่าตอบแทนอสม.ออกเยี่ยมบ้าน วัน ละ 200 บาท x3 วัน x 38 คน  เป็นเงิน  22,800  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยเรื้อรัง/ ผู้สูงอายุและผู้พิการ ที่ด้อยโอกาส ได้รับการเยี่ยมบ้านและดูแล
    1. คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ ที่ได้รับการเยี่ยมดีขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุและผู้พิการ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างมีสุขภาวะ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
67900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 67,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยเรื้อรัง/ ผู้สูงอายุและผู้พิการ ที่ด้อยโอกาส ได้รับการเยี่ยมบ้านและดูแล
2. คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ ที่ได้รับการเยี่ยมดีขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุและผู้พิการ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างมีสุขภาวะ


>