กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุก ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประจัน

1.นายมะรูดิง ยาโงะ
2.ยามีละห์ เจะเตะ
3.นางรอปีอ๊ะยี่งอ
4.นางสาตีปะห์ สาแม
5.นางสาวอามีซะห์ มะแอ

เขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประจัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรง การดูแลสตรีตั้งครรภ์ทั่วไปที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผลการศึกษาพบว่าการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อมารดาและทารก ยังช่วยลดจำนวนครั้งการฝากครรภ์เหลือเพียง 4 ครั้ง จากมาตรฐานที่กำหนดประมาณ 8- 12 ครั้ง ลดทรัพยากรที่ไม่จำเป็นของสตรีตั้งครรภ์ อีกทั้งการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่กับการดูแลตามมาตรฐานเดิมไม่มีความแตกต่างกัน ในเรื่องภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หรือทารกแรกเกิดน้าหนักน้อย สตรีตั้งครรภ์จะได้รับการประเมินภาวะเสี่ยง จึงจะได้รับการดูแลตามระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ จะนัดหมายการดูแล 4 ครั้ง ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ และครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 36-38 สัปดาห์ ในแต่ละครั้งของการนัดตรวจจะกำหนดบริการพื้นฐานที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อสตรีตั้งครรภ์ มีการคัดกรองปัญหาสุขภาพที่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ ให้การรักษาให้การแนะนาให้ตระหนักและเฝ้าระวังปัญหาฉุกเฉินระหว่างตั้งครรภ์และการแก้ไขมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ ที่สะดวกรวดเร็ว
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประจัน จึงได้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุกปรับองค์ประกอบของระบบดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงเป็นจานวน 5 ครั้ง โดยเพิ่มอีกหนึ่งครั้งเมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการมาดูแลครรภ์อย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งเพิ่มกิจกรรมบริการที่สตรีตั้งครรภ์จะได้รับและได้ปรับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กให้เนื้อหาสอดคล้องกับการดำเนินงานต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อสำรวจค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ และกระตุ้นให้มาฝากครรภ์เร็วที่สุด (ท้องปุ๊บ ฝากปั๊ป) ร้อยละ 90
2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายคือ หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 70 คน และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์
3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายคือ หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 70 คน ได้รับการประเมินภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุก ประจำปีงบประมาณ2565

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุก ประจำปีงบประมาณ2565
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลประจัน  จำนวน 29,100 บาท  รายละเอียด  ดังนี้            กิจกรรมประชุมให้ความเข้าใจ     - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 70 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ
            เป็นเงิน  3,500  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 70 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน  2  มื้อ  เป็นเงิน  3,500  บาท     - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท x2 คน                   เป็นเงิน  3,600  บาท     - ค่าป้ายโครงการฯ 900บาท x 5 ผืน บาท                                       เป็นเงิน  4,500  บาท     - ชุดประกอบการอบรม  70ชุด x 100 บาท                                           เป็นเงิน  7,000  บาท

           กิจกรรมเยี่ยมบ้านและประเมินความเสี่ยงการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์     - ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาเชิงรุก (บริการเยี่ยมบ้านและประเมินความเสี่ยงการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ )จำนวน 70 คนๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท ตามชุดกิจกรรมดังนี้         - สำรวจค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่
        - ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์ - ประเมินภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ถูกต้อง
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางได้รับการดูแลรักษาอย่างครบถ้วน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ถูกต้อง
2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางได้รับการดูแลรักษาอย่างครบถ้วน


>